Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1668
Title: แนวทางการยกระดับรายได้อย่างยั่งยืนของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Sustainable Guideline for increase Income of the Tricycle Driven in Samutprakarn Province
Authors: ธัชกร, ภัทรพันปี
Phattaraphanpee, Tachakorn
ณัฐสุภา, จิวศิวานนท์
Chiewsivanond, Natsupa
Keywords: สามล้อถีบ
รายได้
สมุทรปราการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2017
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบในจังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบ 3) ศึกษาความต้องการของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบ และ4) เสนอแนวทางการยกระดับรายได้อย่างยั่งยืนของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบในจังหวัดสมุทรปราการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 120 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ จำนวน 21 ข้อ ซึ่งมีคุณภาพเครื่องมือวัดค่าความเชื่อมั่น .828 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสังเคราะห์ข้อมูลสำคัญต่อการยกระดับรายได้อย่างยั่งยืนของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบในจังหวัดสมุทรปราการ ผลการวิจัย พบว่า สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 25-59 ปี การศึกษาประถมศึกษา ระยะเวลาในการประกอบอาชีพ 16 ปี ขึ้นไป ถือกรรมสิทธิ์ในรถสามล้อถีบเป็นรถเช่า อัตราเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ/ครั้ง ระหว่าง 16-20 บาท มีรายได้เฉลี่ยต่อวันระหว่าง 101-200 บาท สภาพปัญหาและอุปสรรคส่วนใหญ่ พบว่า เส้นทางการขับขี่เกิดจากจราจรติดขัด การเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่เกิดการเฉี่ยวชน จำนวนอุบัติเหตุจากการขับขี่สามล้อถีบปี 2559 ระหว่าง 0-1 ครั้ง อายุการใช้งานของรถสามล้อถีบ (ปี 2559) มีการใช้งานตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป ระดับความต้องการต่อการยกระดับรายได้ของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.99) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเรียงจากมากไปหาน้อยเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความช่วยเหลือและสนับสนุน ( =3.32) เช่น การกำหนดเส้นทางของสามล้อถีบที่เหมาะสมกับสภาพจราจร การให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมอาชีพสามล้อถีบ เป็นต้น ด้านสวัสดิการและ ความมั่นคงในชีวิต ( =3.26) เช่น การตรวจสุขภาพประจำปีโดยไม่เสียค่าบริการ การมีสวัสดิการ การศึกษาและการรักษาพยาบาลของบุตร เป็นต้น ด้านการเพิ่มรายได้ของอาชีพสามล้อถีบ ( =3.09) เช่น การบริการเสริมอาชีพ เช่น การให้บริการนักท่องเที่ยว การรณรงค์ต่างๆ การสร้างมาตรฐานอาชีพ ได้แก่ คุณภาพและบุคลิกภาพในการบริการ เป็นต้น และอยู่ในระดับน้อยคือ ด้านการลดต้นทุนในการประกอบอาชีพถีบ ( =2.32) เช่น การดูแลสภาพการใช้งานของรถสามล้อถีบอย่างสม่ำ เสมอ การมีรถสามล้อถีบของตนเอง เป็นต้น ตามลำดับ แนวทางการยกระดับรายได้อย่างยั่งยืนของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบในจังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ด้านหลักประกันสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพสามล้อถีบ เช่น การเข้าถึงการรักษาพยาบาลของรัฐ การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ และการลดชั่วโมงถีบสามล้อให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เป็นต้น และด้านหลักประกันความมั่นคงในอาชีพสามล้อถีบ เช่น การสร้างพิมพ์เขียวอาชีพ และการประกันรายได้ เป็นต้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1668
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก340.67 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ291.23 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ289.03 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1345.24 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2985.83 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3208.47 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4669.76 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5418.07 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม162.24 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก4.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.