Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1675
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorไชยสิทธิ์, ชาญอาวุธ-
dc.contributor.authorChanarwut, Chaiyasit-
dc.date.accessioned2020-12-23T09:04:23Z-
dc.date.available2020-12-23T09:04:23Z-
dc.date.issued2017-07-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1675-
dc.description.abstractสภาวะสมัยใหม่ (Modernity) ถือได้ว่าเป็นตัวจักรสำคัญได้นำพาความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งก่อให้เกิดการสร้างสังคมที่มีความทันสมัย ทั้งในเชิงโครงสร้าง ความเชื่อ และทัศนคติ ตลอดจนเป็นตัวการในการบริหารและจัดการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ส่งผลทำให้เกิดความหลากหลายกลายเป็น “ความหลากหลายทางวัฒนธรรม” เกิดการสื่อสารระหว่าง วัฒนธรรมที่เข้ามามีบทบาทกับมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้มนุษย์ที่อยู่ห่างไกลกัน มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันสามารถทำการสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น (พัชราภา เอื้ออมรวนิช, 2559 : 80) นอกจากนี้การปราศจากการผูกขาดทางวัฒนธรรม จึงเป็นกรอบคิดที่สอดคล้องกับระบอบเสรีประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิเสรีในการแสดงออก (Expression) ภายใต้อำนาจรัฐ คนในยุคต่างๆ เกิดการหล่อหลอมในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทั้งปัจจัยในด้านบุคลิกลักษณะ ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว และด้านค่านิยม (ปรารถนา ศรนุวัตร และประจวบ เพิ่มสุวรรณ, 2557 : 49) ซึ่งในการแสดงออกนั้นมีอยู่หลายทางวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วย ความเห็นต่างจึงเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะมีการแสดงออกในเชิงมีส่วนร่วม การแสดงออกในเชิงต่อต้านและขัดแย้ง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของสังคมผ่านหลากหลายช่องทาง ศิลปะ (Art) ถือได้ว่าเป็นช่องทางในการแสดงออกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการคิดค้นของมนุษย์ โดยใช้ สี เส้น รูปร่าง รูปทรง ผ่านวัตถุรองรับที่เรียกว่า สื่อ (Medium) ที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปประกอบกับสังคมที่มีวิวัฒนาการอย่างไม่เคยหยุดนิ่งจึงทำให้รูปร่างหน้าตาของตัวสื่อเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาดังที่วอลเตอร์ เบ็นจามิน (Walter Benjamin) ได้ให้แนวคิดไว้ซึ่งได้กล่าวอ้างถึงในหนังสือ สายธารแห่งนักคิด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองและสื่อสารการศึกษา ที่เขียนโดยกาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน (2551 : 289-291) ไว้ว่า ความเป็น “ชีวิตประจำวัน” (Daily life) ซึ่งสนใจในเรื่อง ชีวิตประจำวัน ที่เป็นแบบธรรมดาๆ ที่เขาใช้ชีวิตอยู่จริงๆ การศึกษาชีวิตประจำวันที่แสนจะธรรมดาของผู้คนเหล่านั้น รวมทั้งดูวิธีการใช้ชีวิตของพวกเขาที่สัมพันธ์กับสิ่งของที่ดูธรรมดาๆ ต่างๆ เช่น สิ่งที่พวกเขาพบเจอบนท้องถนน ศิลปะที่ชม เสื้อผ้าที่สวมใส่ สิ่งของอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ละครหรือภาพยนตร์ที่ชม ดนตรีที่กลุ่มคนพวกนั้นชอบฟัง การเก็บของสะสมต่างๆ ฯลฯ จากสิ่งที่ดูเป็นธรรมดาเหล่านี้ หากพลิกดูข้างในก็จะมองเห็นโครงร่างของวัฒนธรรม และสังคมสมัยใหม่ของวิถีชีวิตในรูปแบบนั้นๆ เบ็นจามิน เห็นว่าวัฒนธรรมการบริโภคของระบบทุนนิยมนั้นได้เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องของแฟชั่น การขยายตัวของรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) การสื่อสารโดยมีวัฒนธรรมมวลชน/วัฒนธรรมสมัยนิยม (Mass / Popular Culture) เป็นตัวจักรสำคัญผู้เขียนได้มองเห็นถึงความสัมพันธ์ของกลไกทางสังคมในหลายประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันในหลายศาสตร์อย่างหลากมิติ อันได้แก่ มนุษยวิทยา สังคมวิทยา การเมืองและวัฒนธรรม ที่มีความเกี่ยวข้องกับศิลปะข้างถนนที่ได้แสดงออกลงบนกำแพง พื้นที่สาธารณะแทรกซึมแทรกแซงกระทบชีวิตผู้คนทั้งในพื้นที่เมืองและชนบทที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องทั้งนี้เพราะการปฏิวัติของเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมยุคใหม่ เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น ผ่านวัฒนธรรม ประชานิยม (Popular Culture) จึงมีลักษณะของการเป็นวัฒนธรรมลูกผสม (Hybridity) ทั้งในด้านวัฒนธรรม เทคโนโลยี เนื้อหา สุนทรียะ การเมือง จึงถือว่าเป็นวัฒนธรรมข้ามพรหมแดนที่มิได้มีแหล่งกำเนิดจากที่เดียวที่ดำรงอยู่กับคนไทยในสังคม ซึ่งได้ทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญทางสังคมไว้อย่างตรงไปตรงมาในจริตของคนทั่วไป ชาวบ้าน ช่างฝีมือไม่มีการปรุงแต่งหัวข้อข่าวให้น่าสนใจเกินจริงแต่อย่างใด แต่กลับสามารถเข้าถึงประชาชนได้เร็ว ยอมรับง่าย เสพง่ายกว่าศิลปะประเภทอื่นที่จะต้องใช้พื้นฐานทางกายภาพและความคิด สมาธิใน การที่พยายามที่จะเข้าใจในตัวงานศิลปะ จึงเป็นประโยชน์ในการพัฒนาศิลปะแขนงอื่นๆ ให้สามารถเข้าถึงประชาชนได้ง่ายขึ้นในการสื่อสารกระจายข้อมูลไปสู่วงกว้าง ในเหตุการณ์สำคัญในสังคมที่กล่าวถึงกันอยู่ ในยุคที่สื่อในสังคมปัจจุบัน ซึ่งเต็มไปด้วยการแข่งขัน และแย่งชิงพื้นที่ทางความคิด ความทรงจำ เพื่อสร้างการยอมรับและไว้ใจจากผู้บริโภคในสังคมปัจจุบันen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Journal Project.en_US
dc.subjectศิลปะen_US
dc.subjectศิลปะข้างถนนen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.subjectการสร้างสรรค์งานศิลปะen_US
dc.titleศิลปะข้างถนนการแสดงออกบนพื้นที่สาธารณะ : ต่อเหตุการณ์สำคัญในสังคมen_US
dc.title.alternativeStreet Art Expression in Public Sphere ; Important Social Circumstanceen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:Article Dhonburi Rajabhat University - บทความ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Article.pdfบทความ330.43 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.