Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1704
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุชีลา, ศักดิ์เทวิน-
dc.contributor.authorSakthewin, Suchera-
dc.contributor.authorธุวพล, คงน้อย-
dc.contributor.authorKongnoi, Thuwapol-
dc.date.accessioned2022-02-27T05:38:48Z-
dc.date.available2022-02-27T05:38:48Z-
dc.date.issued2016-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1704-
dc.description.abstractการศึกษากระบวนการเรียนรู้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และการนำไปใช้ประโยชน์ของประชาชนในชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเรียนรู้กลุ่มเศรษฐกิจชุมชนและการนำไปใช้ประโยชน์ 2) ศึกษาลำดับขั้นตอน องค์ประกอบ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง 3) ศึกษาตัวบ่งชี้ของกลุ่มที่มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านเศรษฐกิจชุมชน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาให้เอื้อต่อการเกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้แทนหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นักวิชาการด้านเศรษฐกิจชุมชน ผู้นำกลุ่ม ประชาชนในชุมชนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ สัมภาษณ์ และประชุมสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่ม/ชุมชน/องค์กรที่มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านเศรษฐกิจชุมชนมี 17 กลุ่ม ดังนี้ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จำนวน 3 กลุ่ม อำเภอบางเสาธง จำนวน 4 กลุ่ม อำเภอพระประแดง จำนวน 3 กลุ่ม อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จำนวน 2 กลุ่ม อำเภอบางพลี จำนวน 3 กลุ่ม อำเภอบางบ่อ จำนวน 2 กลุ่ม ลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ประกอบด้วย 1) การรวมคน รวมกลุ่ม ต้องมีผู้นำหรือแกนนำ และมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีการระดมเงินลงทุน ให้กำลังใจแก่กัน และมีการแบ่งงานกันตามหน้าที่ 2) ร่วมคิด การรับฟังความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ ร่วมตัดสินใจ สร้างความเข้าใจร่วมกัน ร่วมวิเคราะห์ปัญหา จัดลำดับความสำคัญของปัญหา กำหนดแนวทาง วิธีการ แผนงานในการแก้ปัญหาและประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน 3) ร่วมดำเนินการ สมาชิก ในกลุ่มได้รับมอบหมายตามหน้าที่ของตนเอง ก็จะดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำหน้าที่ของตนเองให้คนอื่นได้รับทราบด้วย มีประชุมเพื่อติดตาม ผลการดำเนินงาน 4) ร่วมสรุปบทเรียน เพื่อสร้าง พลังปัญญา ทำให้เกิดการเชื่อมต่อและนำไปสู่การพัฒนา ซึ่งบทเรียนรวมทั้งบทเรียนภายในชุมชนและนอกชุมชน 5) ร่วมรับผลประโยชน์ แบ่งได้ 2 รูปแบบ คือผลประโยชน์ที่เป็นค่าตอบแทน และผลประโยชน์ที่ไม่ใช่ค่าตอบแทน องค์ประกอบของกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) ภายในชุมชน ได้แก่ ผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกในกลุ่ม การถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิก ปราชญ์ชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาจัดอบรมให้ความรู้ ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรม 2) ภายนอกชุมชน ได้แก่ การศึกษาดูงานกลุ่มอื่นๆ การอบรมกับหน่วยงานภายนอก การค้นคว้าข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามาเรียนรู้กับกลุ่ม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ ผู้นำ สมาชิก และ ชุมชน 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเข้ามามีส่วนร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ และสถาบันการศึกษา 3) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายในชุมชนมีทรัพยากรหรือวัตถุดิบที่สามารถนำมาใช้ในกระบวนการผลิตหรือการทำกิจกรรมของกลุ่ม โดยการนำทรัพยากรมาใช้ได้อย่างสูงสุด อาจเกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น หรือจากสมาชิกสู่สมาชิก ซึ่งเป็นการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาสร้างรายได้ให้กับกลุ่มหรือชุมชน ตัวบ่งชี้ของกลุ่มที่มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านเศรษฐกิจชุมชน มีการรวมคน ในการที่จะรวมคนให้มาทำงานรวมกัน เป็นกลุ่ม จะต้องมีผู้นำ สมาชิกกลุ่มร่วมกันระดมความคิด การร่วมดำเนินการ การร่วมสรุปบทเรียนเมื่อมีปัญหาก็หาทางร่วมกันแก้ไขปัญหา และการร่วมรับผลจากผลงานที่ช่วยกันดำเนินการ องค์ประกอบกระบวนการเรียนรู้ ของชุมชนมีทั้งเรียนรู้ภายในชุมชน และภายนอกชุมชน ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ มีทั้งปัจจัยภายใน และภายนอกเช่นกัน และการนำไปใช้ประโยชน์จากการรวมกลุ่มกันสามารถนำไปใช้ได้ทั้ง ระดับสมาชิก ระดับกลุ่ม และระดับชุมชน 44 แนวทางในการพัฒนาให้เอื้อต่อการเกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง มีการรวมกลุ่ม ร่วมกันคิด แบ่งงานกันตามหน้าที่ ระดมพลังความคิด ร่วมดำเนินการ ตามบทบาทและหน้าที่ของตน การร่วมสรุปบทเรียน เพื่อสร้าง พลังปัญญา ทำให้เกิดการเชื่อมต่อและนำไปสู่การพัฒนา รวมถึงการหาแนวทางการพัฒนาด้านการตลาด ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ พัฒนาการผลิต และลดต้นทุนการผลิตโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.en_US
dc.subjectเศรษฐกิจชุมชนen_US
dc.subjectกระบวนการเรียนรู้en_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.subjectสมุทรปราการen_US
dc.titleการศึกษากระบวนการเรียนรู้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และการนำไปใช้ประโยชน์ของประชาชนในชุมชนจังหวัดสมุทรปราการen_US
dc.title.alternativeThe Study of Economic of Community Learning Process and Utilization of People in Community in Samutprakarn Provinceen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก161.19 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ241.88 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ112.53 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ219.42 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1409 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.66 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3353.51 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.16 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5901.37 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม226.63 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก21.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.