Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1725
Title: การพัฒนาต้นแบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การสร้างอาชีพในพื้นที่ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: A Development of the Database Prototype of Local Wisdom for Professional Development of Bangpla Sub-District, Bangplee District, Samutprakan Province
Authors: ธัชกร, วงษ์คำชัย
Wongkumchai, Tachakorn
แอนนา, พายุพัด
Payupat, Anna
ฐัศแก้ว, ศรีสด
Srisod, Taskeow
Keywords: ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การสร้างอาชีพ
ฐานข้อมูล
บางพลี
สมุทรปราการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2018
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชน 2) ศึกษาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่สามารถสร้างอาชีพในชุมชนอย่างยั่งยืน 4) หาแนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 5) พัฒนาต้นแบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การสร้างอาชีพในพื้นที่ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 450 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ 1) ผู้นำชุมชน ผู้รู้ในชุมชน จำนวนหมู่บ้านละ 5 คน รวม 75 คน และ 2) ประชาชนในชุมชน จำนวนหมู่บ้านละ 25 คน รวม 375 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน ค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.90 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ชุมชนในพื้นที่ตำบลบางปลา มี 15 หมู่บ้าน นับถือศาสนาพุทธ และอิสลาม เป็นพื้นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ สภาพเป็นดินเหนียวอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก เลี้ยงปลาสลิด และเลี้ยงกุ้ง เป็นชุมชนที่มีนาฏศิลป์พื้นบ้าน มีคณะละครชาตรี สินค้าพื้นเมือง คือ ปลาสลิดแดดเดียว 2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบางปลา ประกอบด้วย ด้านศิลปะวัฒนธรรม ร้อยละ 10.67 ด้านหัตถกรรม ร้อยละ 14.67 ด้านคหกรรม ร้อยละ 14.00 และด้านเกษตรกรรม ร้อยละ 6.89 3.ภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลบางปลา ที่ต้องการนำไปสร้างอาชีพในชุมชนอย่างยั่งยืน ด้านศิลปะวัฒนธรรม คือ ดนตรีไทย ทำพวงหรีดดอกไม้จันทร์ หัวโขนพ่อแก่ ละครปี่พาทย์ไทย-มอญ ด้านหัตถกรรม คือ ผ้าไหมย้อมคราม ด้านคหกรรมมากที่สุด คือ ข้าวเกรียบปลาสลิด และด้านเกษตรกรรม คือ การเลี้ยงปลานิล เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาเบญจพรรณ 4.แนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การสร้างอาชีพในชุมชนอย่างยั่งยืน ด้านรูปแบบของข้อมูลและการนำเสนอ ต้องการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะข้อความข้อความ รูปภาพ วิดีโอ และเสียง รวมไปถึงการเก็บข้อมูลเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ด้านรายละเอียดข้อมูล ต้องการจัดเก็บชื่อภูมิปัญญา ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา แหล่งผลิต ข้อมูลรายละเอียดวัตถุดิบ วิธีการผลิตและการนำไปใช้ประโยชน์ 5.การพัฒนาต้นแบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การสร้างอาชีพในชุมชนอย่างยั่งยืนมีผู้เกี่ยวข้องคือ ผู้ใช้ทั่วไป สมาชิก และผู้ดูแลระบบ ประกอบด้วย 5 โมดูล คือ สมัครสมาชิก จัดการข้อมูลหลัก ค้นหาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น แสดงผลข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น และดูข้อมูลการเข้าใช้งาน และมีจำนวน 11 แฟ้มตาราง
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1725
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก107.66 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ287.17 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ54.92 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ114.51 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1277.69 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 21.94 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3268.32 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.67 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5224.26 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม148.53 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก323.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.