Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1795
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพิมพงา, เพ็งนาเรนทร์-
dc.contributor.authorPhangnaren, Pimpanga-
dc.date.accessioned2022-08-30T07:31:24Z-
dc.date.available2022-08-30T07:31:24Z-
dc.date.issued2021-01-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1795-
dc.identifier.urihttps://o-journal.dru.ac.th//index.php?url=abstract.php&abs_id=721&jn_id=38en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุต่อการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้ 2) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพของผู้สูงอายุ 3) ดำเนินการพัฒนาอาชีพสำหรับผู้สูงอายุ เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามจากผู้สูงอายุในชุมชน 353 คน ร่วมกับการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนผู้สูงอายุ ผู้นำท้องถิ่นและผู้นำชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการของผู้สูงอายุที่มีต่อการพัฒนาอาชีพ โดยรวมอยู่ในระดับมากซึ่งมีค่าเฉลี่ย ( = 3.80) โดยเรียงตามลำดับคือ ด้านความต้องการทางด้านกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.12) ด้านความต้องการในการจัดหางานมีค่าเฉลี่ย ( = 3.91) ด้านโครงการส่งเสริมอาชีพที่มีผลต่อผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ย ( = 3.59) และด้านความ ต้องการด้านประเภทของโครงการมีค่าเฉลี่ย ( = 3.58) 2) กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านการวางแผน อบต. และชุมชนเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนโดยให้แสดงความคิดเห็นผ่านการทำประชาคมของ อบต.และช่องทางอื่นๆ ด้านการดำเนินงานผู้นำชุมชนจะเป็นหลักในการผลักดันเพื่อให้เกิดโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ด้านการใช้บริการจากโครงการอบต.และชุมชนได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมอาชีพให้ผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องเช่นกระเป๋าจากวัสดุเหลือใช้โดยการถักสานด้วยมือที่เป็นหลักสูตรในระยะสั้นให้กับผู้สูงอายุด้านการรับผลประโยชน์ผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชนทุกคนสามารถที่จะเข้ามาพัฒนาอาชีพที่ทาง อบต. หรือชุมชนจัดให้ 3) ดำเนินการพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้สำหรับผู้สูงอายุที่ได้จากการสนทนากลุ่มได้ข้อสรุปคือให้กลุ่มวิสาหกิจในชุมชนของตำบลเทพารักษ์ ได้เข้ามาให้ความรู้บรรยายและสอนการทำกระเป๋าจากวัสดุเหลือใช้ซึ่งเหตุผลที่เลือกอาชีพเสริมนี้เพราะว่าชุมชนในตำบลเทพารักษ์เป็นชุมชนเมืองจึงมีวัสดุเหลือใช้นี้ค่อนข้างมาก เช่น กระป๋องบรรจุน้ำอัดลม กระป๋องเบียร์ กล่องบรรจุภัณฑ์ ที่มีลวดลายสวยงามซึ่งถ้าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรมจะได้มีความรู้และนำไปทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุโดยผู้สูงอายุอาจจะรวมกลุ่มกันและไปตั้งสินค้าขายในนามชมรมผู้สูงอายุของตำบล หรือนำสินค้าไปวางขายในงานโอทอปของตำบลเทพารักษ์ หรือในจังหวัดสมุทรปราการen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมen_US
dc.subjectรายได้en_US
dc.subjectผู้สูงอายุen_US
dc.subjectชุมชนen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ของผู้สูงอายุen_US
dc.title.alternativeCommunity Participation in Career Development for Increasing the Elderly's incomesen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:Article Dhonburi Rajabhat University - บทความ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.