Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1812
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorประพัฒน์, เขียวประภัสสร-
dc.contributor.authorKeawprapassorn, Prapat-
dc.contributor.authorนุชรา, แสวงสุข-
dc.contributor.authorSawangsuk, Nuchara-
dc.date.accessioned2022-12-21T03:24:47Z-
dc.date.available2022-12-21T03:24:47Z-
dc.date.issued2020-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1812-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการให้บริการของบุคลากรทางการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และ2)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่มีประสบการณ์ในการใช้บริการธุรกิจท่องเที่ยว และผู้เชี่ยวชาญทางด้านกลุ่มผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ผู้เชี่ยวชาญทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการท่องเที่ยว และผู้แทนกระทรวงพัฒนาสังคมและมั่นคงของมนุษย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแนวทางการสนทนากลุ่ม (Focus group) ประเด็นในการจัดสนทนา ได้แก่ สภาพปัญหาในการให้บริการของบุคลากรทางการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และแบบสอบถามสำหรับการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟายจำนวนทั้งสิ้น 3 รอบจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามรอบที่ 3 โดยหาค่ามัธยฐาน (Median: Md) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range: IR) และค่าสัมบูรณ์ความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับฐานนิยม (IMd-MoI) ซึ่งมีการกำหนดว่าข้อความที่นำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ต้องมีค่ามัธยฐานมากกว่าหรือเท่ากับ 3.50 มีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.50 และมีค่าสัมบูรณ์ความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับค่าฐานนิยมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.00 ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการให้บริการของบุคลากรทางการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว คือ บุคลากรไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ปัญหาความเต็มใจในการให้บริการ บุคลากรไม่มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่อผู้พิการทางการเคลื่อนไหวและไม่มีความรู้เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวเพียงพอ รวมถึงไม่สามารถให้ข้อมูลได้ หรือให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และปัญหาทัศนคติเชิงลบของบุคลากรทางการท่องเที่ยว แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ 1)ด้านความรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันระดับมากที่สุด (Md=5.00, IMd-MoI=0.00, IR=0.00) 2)ด้านทักษะ โดยผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันระดับมากที่สุด (Md=4.83, IMd-MoI=0.17, IR=0.67) และ3)ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล โดยผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันระดับมากที่สุด (Md=5.00, IMd-MoI=0.00, IR=0.43)en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute .en_US
dc.subjectบุคลากรen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหวen_US
dc.subjectศักยภาพบุคลากรen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการท่องเที่ยวสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหวen_US
dc.title.alternativeGuidelines for the Development of Personnel Potential for Tourism for Tourists with Physical Disabilitiesen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title .pdfปก111.95 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ114.72 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ73.74 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ140.63 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1118.17 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2354.96 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3135.4 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4495.46 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5331.88 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม82.71 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.