Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1821
Title: อรรถกถาพุทธวงศ์ : การเล่าเรื่องในฐานะวรรณกรรมพระพุทธศาสนา
Other Titles: Atthakatha Buddhavamsa : Storytelling as a Buddhist Literature
Authors: อนุสรา, ศรีวิระ
Sreewira, Anoodsara
Keywords: พุทธศาสนา
วรรณกรรม
อรรถกถาพุทธวงศ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute .
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงเรื่อง กลวิธีการเล่าเรื่อง และกลวิธีการใช้ความเปรียบในอรรถกถาพุทธวงศ์จำนวน 25 เรื่อง เพื่อจะได้เห็นลักษณะเฉพาะของอรรถกถาพุทธวงศ์ในฐานะวรรณกรรมพระพุทธศาสนา ผลการศึกษา พบว่า โครงเรื่องในอรรถกถาพุทธวงศ์แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนเปิดเรื่องประกอบด้วยคาถาปรารภคัมภีร์ และนิทานกถา 2) ส่วนดำเนินเรื่อง จำนวน 25 เรื่อง ประกอบด้วยเหตุการณ์หลักจำนวน 10 เหตุการณ์ ได้แก่ การจุติจากสวรรค์ถือกำเนิดยังโลกมนุษย์ การเจริญเติบโต การออกบวช การบำเพ็ญบารมี การตรัสรู้ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา 3 ครั้ง การประชุมสาวก 3 ครั้ง การพบพระโพธิสัตว์โคตม การพยากรณ์พระโพธิสัตว์โคตม และการดับขันธ์ปรินิพพาน การเกิดเหตุการณ์เหล่านี้อาจข้ามและสลับที่เหตุการณ์ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลกัน และ 3) ส่วนปิดเรื่องแบ่งเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย กัณฑ์ปกิณกะของพระพุทธเจ้า เรื่องแจกพระบรมสารีริกธาตุ เรื่อง เบ็ดเตล็ดของพุทธวงศ์ และนิคมนกถา ในด้านกลวิธีการเล่าเรื่องพบว่า อรรถกถาพุทธวงศ์ใช้ผู้เล่าเรื่อง 3 ประเภท ได้แก่ ผู้เล่าเรื่องที่ไม่ใช่ตัวละครในเรื่องแบบผู้รู้ ผู้เล่าเรื่องที่เป็นตัวละครในเรื่องแบบพยานคือพระอานนท์ และผู้เล่าเรื่องที่เป็นตัวละครหลักแบบเปิดเผยตัวคือพระพุทธเจ้า เมื่อพิจารณาการจัดลำดับเวลาในเรื่องเล่ายังสามารถแบ่งการเล่าเรื่องได้ 2 ประเภท ได้แก่ การเล่าเรื่องที่สัมพันธ์กับลำดับเวลาในเรื่อง พบว่ามีการเล่าเรื่องสลับไปมาระหว่างปัจจุบันกับอดีต และการเล่าเรื่องที่สัมพันธ์กับเวลาของผู้อ่านพบว่ามีการเล่าเรื่องแบบย่อ แบบข้ามและการหยุด ในด้านกลวิธีการใช้ความเปรียบในอรรถกถาพุทธวงศ์จำนวน 25 เรื่อง พบว่า อรรถกถาพุทธวงศ์ใช้กลวิธีความเปรียบมาถ่ายทอดเรื่องราวของพระพุทธเจ้า 25 พระองค์ สามารถแบ่งความเปรียบได้ 3 ประเภท ได้แก่ การเปรียบเทียบโดยตรง การเปรียบเทียบโดยนัย และการเปรียบเทียบแบบผสม ความเปรียบเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยอธิบายเรื่องราวในอรรถกถาพุทธวงศ์ ทำให้ผู้อ่านเข้าใจวิถีชีวิตการเป็นพระพุทธเจ้ามากยิ่งขึ้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1821
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก129.31 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ193.1 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ106.62 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ168.51 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1192.3 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2924.69 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3115.68 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.93 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5917.34 kBAdobe PDFView/Open
Unit 6.pdfบทที่ 6159.66 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม239.24 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก77.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.