Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1828
Title: การจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ชุมชน บนฐานเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
Other Titles: The Participatory Management of Cultural Learning Resources to Enhance Community Identity base on Creative Economy and Local Wisdom
Authors: นิธิภัทร, บาลศิริ
Balsiri, Nithipattara
Keywords: แหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
อัตลักษณ์ชุมชน
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2020
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. research and development institute .
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ชุมชน ของชุมชนเขตพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม ของชุมชนเขตพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนเขตพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร 5) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ชุมชนบนฐานเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชุมชนเขตพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร พื้นที่ที่ศึกษา คือ ชุมชนในเขตตลิ่งชัน เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย คือ ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ประชาชนในชุมชนเขตพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 1,759,964 คน จำนวนบ้าน 786,076 ครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชน 61 คน ครูที่สอนโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ฝั่งธนบุรี จำนวน 476 คน นักท่องเที่ยวชาวไทย 800 คน งานวิจัยเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม จำนวน 50 เรื่อง งานวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จำนวน 50 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจชุมชน แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูลงานวิจัย วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การจำแนกประเภท การสรุปเชิงอุปนัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เทคนิคการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบพหุตัวแปร เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) พื้นที่ฝั่งธนบุรีเป็นพื้นที่ที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับฝั่งพระนคร กรุงเทพมหานคร มีลำคลองมากมาย ประชาชนมีการคมนาคมทางน้ำและมีวิถีชีวิตริมฝั่งคลองที่มีเอกลักษณ์ มีประชาชนหลากหลายเชื้อชาติ ได้แก่ ชาวไทย ชาวจีน ชาวมุสลิม ชาวคริสต์ ประชาชนยังคงประกอบอาชีพทำสวนผัก สวนผลไม้ และสวนกล้วยไม้ มีแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน การจัดการแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) ผลการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการแหล่งเรียนรู้ชุมชนของสถานศึกษา ได้แก่ ขนาดของสถานศึกษา ประเภทของสถานศึกษา ที่ตั้งของสถานศึกษา เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้แหล่งเรียนรู้และปัญหาการใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ได้แก่ ขนาดของสถานศึกษา ที่ตั้ง เครือข่ายสถานศึกษา ตำแหน่งบริหาร 3) ผลการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยว ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ บุคคลที่ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยว แรงจูงใจในการท่องเที่ยว ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยว ส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านพนักงานผู้ให้บริการ ด้านภาพลักษณ์สถานที่ท่องเที่ยว ส่วนปัจจัยที่ส่งผลและมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการมาท่องเที่ยว ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพศ สถานภาพสมรส อายุ รายได้ ระดับการศึกษา วัตถุประสงค์หลักการท่องเที่ยว วิธีการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านทำเลที่ตั้ง ด้านส่งเสริมทางการตลาด ด้านกระบวนการของนักท่องเที่ยว 4) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของครูผู้สอนที่มีผลต่อการจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ เขตพื้นที่ ขนาดของสถานการศึกษา ประเภทของสถานศึกษา สังกัดของสถานศึกษา ระดับชั้นที่สอน ในขณะที่ ปัจจัยเกี่ยวกับการมีนโยบายและแผน ปัจจัยเกี่ยวกับการสนับสนุนและส่งเสริม และปัจจัยเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผล สามารถร่วมกันทำนายการใช้ประโยชน์แหล่งเรียนรู้ ร้อยละ 68.00 5) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ ระดับการศึกษา อายุ รายได้เฉลี่ยของครอบครัว พาหนะในการเดินทางของครอบครัว จำนวนครั้งของการท่องเที่ยวของสมาชิกในครอบครัว ในขณะที่ปัจจัยด้านการเดินทางและสาธารณูปโภคพื้นฐาน ด้านร้านอาหารและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการตลาด การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านการเรียนรู้และกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน สามารถทำนายแรงจูงใจในการมาท่องเที่ยวได้ ร้อยละ 70.90 6) รูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ชุมชนบนฐานเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของชุมชนเขตฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร คือ “WiTMRIP Model” ประกอบด้วย Local Wisdom : การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น Cultural Tourism : การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม Local Museum Development : การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น Local Learning Resource : การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น Learning Integration : การบูรณาการสู่การเรียนรู้ Public Relation : การโฆษณาและประชาสัมพันธ์
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1828
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก137.87 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ154.87 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ80.68 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ640.74 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1411 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 25.79 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3747.17 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 444.89 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 52.71 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.25 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.