Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/254
Title: แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศบริเวณชายบ้านสีล้ง ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Strategies to Develop Ban Seelong Eco-tourism Coastal Resort, Klongdan Subdistrict,Bangbo District,Samutprakan Province
Authors: ณรงค์, ยอดศิรจินดา
Yodsirajinda, Narong
Keywords: การท่องเที่ยว - วิจัย
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ - วิจัย
Issue Date: 2012
Publisher: Dhonburi Rajabhat University Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของชายทะเลบ้านสีล้งในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บริเวณชายทะเลบ้านสีล้งให้บรรลุถึงศักยภาพที่เป็นไปได้มากที่สุด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ นักท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องผู้นำชุมชน และประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์รายบุคคลแบบสัมภาษณ์ประกอบการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการสังเกต พร้อมอุปกรณ์รวบรวมข้อมูลภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนชายทะเลบ้านสีล้ง หมู่ที่ 12 ตำบลคลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ มีสภาพพื้นที่เแ็นที่ราบริมฝั่งทะเลอ่าวไทย มีป่าชายเลนขึ้นอยู่อย่างสมบูรณ์ มีอากาศบริสุทธิ์และเย็นสบาย ซึ่งประชาชนได้ใช้ประโยชน์เป็นแหล่งประกอบอาชีพประมงชายฝั่งมานาน ต่อมาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองด่าน ได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและพัฒนาพื้นที่ โดยการสร้างเขื่อนกันคลื่นและน้ำทะเล สร้างสะพานไม้ชมระบบนิเวศของป่าชายเลน ศาลานั่งพัก และสะพานชมวิวทะเล รวมทั้งมีประชาชนและบุคลากรขององค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ได้มาร่วมกันปลูกป่า เพื่อฟื้นฟูป่าให้ดีขึ้น จึงทำให้บริเวณนี้มีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สมบูรณ์ที่ดี ในปัจจุบันจึงมีประชาชนมาใช้บริเวณนี้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจมากพอสมควร 2) จากการประมวลความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูล 4 กลุ่ม สรุปได้ว่าแนวทางในการพัฒนาชายทะเลบ้านสีล้ง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยงเชิงนิเวศที่สมบูรณ์ขึ้นมีดังนี้ 2.1) ด้านสภาพธรรมชาติของป่าชายเลนควรมีการฟื้นฟูให้ระบบนิเวศกลับคืนมาและมีความสมบูรณ์ดั้งเดิม และควรมีการทิ้งหินสร้างเป็นเขื่อนป้องกันคลื่นและน้ำทะเลให้ยาวขึ้น 2.2) ด้านสิ่งอำนวยสะดวกต่างๆ ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น และให้เพียงพอสำหรับนักท่องเที่ยว เช่น ถนนทางเข้า สถานที่จอดรถ ห้องน้ำ ร้านอาหาร ฯลฯ 2.3) ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ควรส่งเสริมกิจกรรมการปลูกป่าและเพิ่มองค์ความรู้ในการศึกษาระบบนิเวศของป่าชายเลนรวมถึงสัตว์น้ำชายฝั่งให้มากขึ้น โดยจัดมัคคุเทศก์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับต้นไม้และสัตว์น้ำประเภทต่างๆ นอกจากนี้ควรส่งเสริมการล่องเรือชมอาชีพประมงชายฝั่งที่ชาวบ้านริเริ่มจัดขึ้น 2.4) ด้านผลิตภัณฑ์จากทะเล ควรมีการจำหน่ายอาหารทะเลสดและแปรรูปที่มีคุณภาพดี และมีความหลากหลายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งจำหน่ายในราคาที่เหมาะสม 2.5) ด้านการบริหารการจัดการ องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ควรเข้ามาร่วมกำหนดนโยบาย ในการพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมการท่องเที่ยว 2.6) ด้านการสนับสนุนการดำเนินงาน ภาครัฐ และภาคเอกชน ควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณและการฝึกอบรมให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความสามรถในการบริหารจัดการชายทะเลบ้านสีล้งให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างถูกต้องและเหมาะสม
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/254
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก629.71 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ345.51 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ595.55 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ29.55 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ807.43 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่11.75 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่216.78 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่3984 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่48.47 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่56.97 MBAdobe PDFView/Open
unit 6.pdfบทที่63.43 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม600.15 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก2.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.