Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/277
Title: อิทธิพลของคติชาวบ้านล้านนาที่ปรากฏผ่านการสร้างสรรค์งานประติมากรรมรูปตัวมอมในจังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
Other Titles: A Study of Lanna Fokelores on Create Sculpture of Mom in North Province Upper Regon in Thiland
Authors: ณัฐกาญ, ธีรบวรกุล
Teerabavornrakul, Nattakarn
Keywords: วัฒนธรรม(ภาคเหนือ)
คติชาวบ้าน(ภาคเหนือ)
ประติมากรรมรปูนปั้น
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2012
Publisher: Dhonburi Rajabhat University Research and Development Institute
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาอิทธิพลของคติชาวบ้านล้านนาที่ปรากฏผ่านการสร้างสรรค์งานประติมากรรมรูปตัวมอม ในจังหวังภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งจากการสำรวจพบประจิมากรรมรูปตัวมอม 41 แห่งใน 6 จังหวัด จากการสำรวจ 8 จังหวัด ภาคเหนือในจังหวัด เชียงราย น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ซึ่งไม่พบปรากฏพบในจังหวัดพะเยา และจังหวัดแม่ฮ่องสอน การสร้างสรรค์ประติมากรรมรูปตัวมอมเป็นผลงานที่สร้างขึ้นจากความศรัทธาในพุทธศาสนา จากการจดจำคำบอกเล่าของบรรพบุรุษ และมีความรู้โดยพื้นฐานว่าตัวมอมเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัตว์ในอุดมคติไม่ปรากฎว่ามีตัวตนอยู่จริง เสมือนสัญลักษณ์หนึ่งที่มักปรากฎในศาสนาสถานเฉพาะกลุ่มจังหวัดบางจังหวัดของภาคเหนือตอนบนเท่านั้น จะพบว่าในภุมิภาคอื่นของประเทศไทยไม่ปรากฎประติมากรรมรูปตัวมอม และในอดีตประติกรรมมรูปตัวมอมยังเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมการแห่ขอฝน ซึ่งปัจจุบันไม่ปรากฎพิธีกรรมนี้แล้ว ประติมากรรมรูปตัวมอมสร้างสรรค์จากช่างปั้น แกะสลัก หรือเสล่าท้องถิ่นจะใส่จินตนาการในเรื่องของลักษณะทางร่างกายให้แลดูแตกต่าง และมีอิทธิฤทธิ์ โดยที่ช่างจะได้รับการถ่ายทอดลักษณะที่สำคัญๆของตัวมอม มาจากบรรพบุรุษ ลักษณะรูปแบบ และบทบาทหน้าที่ ประติมากรรมรูปตัวมอมที่ปรากฏในศาสนาสถานนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ที่ผนวกกับคติความเชื่อที่สืบกันต่อมาจากบรรพบุรุษ ในการสร้้างประติมากรรมรูปตัวมอมของศาสนสถานและช่างผู้สร้างสรรค์ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม 1) ตัวมอมลักษณะหมอบเฝ้าหน้าอาคาร 2) ตัวมอมลักษณะวิ่งต่อกันเป็นวงกลม 3) ตัวมอมลักษณะนั่งคล้ายสิงห์พม่า และ 4) ตัวมอมที่ประดับอยู่บริเวณส่วนต่างๆของศาสนสถานในส่วนของซุ้มประตูโขง ซุ้มโขงพระประธาน หน้าบัน เสา ภายในอาคารวิหาร อุโบสถ ฐานชุกชีพระประธานลักษณะสลับหัวสลับหางเป็นวงกลม กำลังเคลื่อนไหวปีนป่าน หมอบขดตัว ซึ่งโดยส่วนใหญ่ตัวมอมเหล่านี้จะเป็นประติมากรรมแบบนูนต่ำ (bas Relief) และนูนสูง (High Relief) ในด้านการรับรู้ที่เกี่ยวข้องกับคติความเชื่อเกียวกับประติมากรรมรูปตัวมอมของชาวบ้านล้านนา พบว่า พระสงฆ์ ศาสนิกชน และผู้ที่เกี่ยวกับตัวมอมนำสารไปยังปัชชุนนเทวบุตร ตามลำดับ โดยประติมากรรมรูปตัวมอมที่พบส่วนใหญ่จะได้รับการบูรณะ หรือปั้นขึ้นใหม่โดยการบูรณะนั้นจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ลักษณะที่ไม่คงเดิมของตัวประติมากรรม ส่วนน้อยที่จะคงรูปแบบลักษณะเดิมเอาไว้ ทำให้การสำรวจอาจมีการคลาดเคลื่อน ประกอบกับไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจากบรรพบุรุษ นอกจากคำบอกเล่าปากต่อปาก จึงทำให้เกิดปัญหาในการศึกษารูแปบบ กลวิธีรวมถึงการกำหนดช่วยอายุของงานประติมากรรมตัวมอม
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/277
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title1.pdfปก337.96 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ154.19 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ46.32 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ1.35 MBAdobe PDFView/Open
unit1.pdfบทที่11.18 MBAdobe PDFView/Open
unit2.pdfบทที่218.13 MBAdobe PDFView/Open
unit3.pdfบทที่32.04 MBAdobe PDFView/Open
unit4.pdfบทที่417.15 MBAdobe PDFView/Open
unit5.pdfบทที่5496.79 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม1.03 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก3.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.