Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/392
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเบญจวรรณ, สร้อยผาบ-
dc.contributor.authorSoipaab, Benjawan-
dc.date.accessioned2017-08-18T07:53:46Z-
dc.date.available2017-08-18T07:53:46Z-
dc.date.issued2013-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/392-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการส่งออกหน่อไม้ฝรั่งของผู้ประกอบการส่งออกในจังหวัดนครปฐม 2) เปรียบเทียบปัญหาการส่งออกหน่อไม้ฝรั่งของผู้ประกอบการส่งออกในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามสถานภาพของผู้ประกอบการส่งออกหน่อไม้ฝรั่ง ในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการส่งออกหน่อไม้ฝรั่ง ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างการหาค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการส่งออกมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการส่งออกหน่อไม้ฝรั่งในจังหวัดนครปฐม ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเมืองและกฎหมาย เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก ได้แก่ มีการกีดกันสินค้าขาเข้าหน่อไม้ฝรั่งของไทยในประเทศคู่ค้า และภาษีขาออกของไทยและภาษีขาเข้าของประเทศคู่ค้ามีผลต่อธุรกิจส่งออกหน่อไม้ฝรั่ง ด้านเศรษฐกิจ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ค่าแรงเป็น 300 บาท/วัน เป็นปัญหาต่อธุรกิจและคุณภาพสินค้าหน่อไม้ฝรั่งของประเทศคู่แข่งมีผลกระทบต่อการส่งออกหน่อไม้ฝรั่งของไทย ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ปัญหาการจัดทำเอกสารการส่งออกหน่อไม้ฝรั่งของไทย และภาษาที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างไทยกับประเทศคู่ค้า มีปัญหา ด้านสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความสามารถในการควบคุมสารเคมีไม่ให้ปนเปื้อนในหน่อไม้ฝรั่งส่งออก และการผลิตหน่อไม้ฝรั่งส่งออกมีปัญหาทางเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง 2) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการส่งออกหน่อไม้ฝรั่งของผู้ประกอบการส่งออกในจังหวัดนครปฐม จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน รูปแบบธุรกิจ ทุนจดทะเบียน และอายุการประกอบธุรกิจส่งออกในภาพรวม พบว่าไม่แตกต่างกัน เฉพาะด้านเทคโนโลยี ผู้ประกอบการส่งออกที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการส่งออกหน่อไม้ฝรั่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ คือ ทัศนคติของผู้บริโภคในประเทศคู่ค้ามีผลต่อการบริโภคหน่อไม้ฝรั่งของไทยen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technologyen_US
dc.subjectหน่อไม้ฝรั่ง - การส่งออกen_US
dc.titleปัญหาการส่งออกหน่อไม้ฝรั่งของผู้ประกอบการส่งออกในจังหวัดนครปฐมen_US
dc.title.alternativeProblems concerning Asparagus exporters in Nakhonpatomen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก583.22 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ332.93 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ879.82 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ311.02 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ1.59 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 12.21 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 215.87 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 31.66 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 434.69 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 54.63 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม660.12 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.