Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/538
Title: การอนุรักษ์และสืบสานประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ ของชาติมอญ ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Conservation and Inheritance of the Swan Parade and Centipede Flag Tradition of the Mon Ethnic, Songkanong Sub-District, Phra Pradaeng District, Samut Prakarn Province
Authors: อัฐภิญญา, ศรีทัพ
Sritup, Atapinya
Keywords: ไทย - ความเป็นอยู่และประเพณี
ไทย - พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม
วัฒนธรรมท้องถิ่น
Issue Date: 2016
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเป็นมา ความเชื่อในประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ ของชาติพันธุ์มอญ ตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 2) แนวทางการอนุรักษ์ และสืบสานประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ 3) คุณประโยชน์ในประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลเอกสาร และภาคสนามจากผู้รู้ 6 คน ผู้ปฏิบัติ 6 คน และผู้เกี่ยวข้อง 30 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า และนำเสนอรายงานโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ชาวมอญตำบลทรงคนอง อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในรัชกาลที่ 2 พร้อมนำวัฒนธรรมประเพณีมอญเข้ามา และมีความเชื่อในหงส์เป็นสัญลักษณ์แทนถิ่นกำเนิดตามตำนาน ส่วนธงตะขาบทำเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเป็นการรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้วโดยมีการบันทึกหลักธรรมที่ธงตะขาบเพื่อเป็นกุศโลบายของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้อยู่คู่ชุมชนต่อไป 2) แนวทางการอนุรักษ์ของหมู่บ้านมอญตำบลทรงคนองพบว่า มีพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้และรวบรวมข้อมูล สร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีโดยชุมชน วัดและสถานศึกษา การสืบสานของหมู่บ้านมอญตำบลทรงคนอง พบว่า ได้จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมมอญต่างๆ เพื่อถ่ายทอดประเพณีผ่านสื่อต่างๆ ซึ่งผู้รู้ต้องเป็นผู้ถ่ายทอดในลักษณะมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกในคุณค่าประเพณีทั้งในชุมชน และนอกชุมชนด้วยการบอกเล่าเรื่องราวผ่านสถาบันครอบครัว และสถานศึกษา ปราชญ์ชาวบ้านต้องเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับความเป็นมา ความเชื่อรวมทั้งขั้นตอนการทำธงตะขาบตามแบบของหมู่บ้าน 3) คุณประโยชน์ต่อตนเองทำให้ชาวมอญมีความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ ประโยชน์ต่อชุมชนเกิดความสามัคคีและมีรายได้จากการท่องเที่ยว ประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐในท้องถิ่นได้ชื่อเสียง และภาพลักษณ์ทำให้มีรายได้เข้าจังหวัด ประโยชน์ต่อภาคธุรกิจการค้ามีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึกจากนักท่องเที่ยว
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/538
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก427.97 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ51.9 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ110.39 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ60.38 kBAdobe PDFView/Open
table of content.pdfสารบัญ170.84 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1219.74 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 29.74 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3151.92 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 49.8 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5284.85 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม150.77 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก6.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.