Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/558
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อบัตรโทรศัพท์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors Influencing Decision Making about Phone Card Purchases in Bangkok
Authors: พิกุล, สังคนาคินทร์
Sungkanakin, Pikul
Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค - วิจัย
Issue Date: 2006
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัย "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อบัตรโทรศัพท์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร" โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อบัตรโทรศัพท์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และ(2)เปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อบัตรโทรศัพท์ของผู้บริโภคจำแนกตามสถานภาพศึกษาตามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีและเอฟ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 67.25 อายุ 20-30 ปี ร้อยละ 37.00 มีสถานภาพโสด ร้อยละ 51.50 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. ร้อยละ 45.50 มีอาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัท ร้อยละ 47.75 และมีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 53.75 เคยใช้บัตร ทีโอที การ์ด ร้อยละ 63.00 มีวัตถุประสงค์ในการซื้อบัตรโทรศัพท์ทีโอทีเพื่อใช้ส่วนตัวร้อยละ 91.25 ซื้อบัตร โทรศัพท์ทีโอที ที่ร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 66.25 จะซื้อบัตรโทรศัพท์ ทีโอที 1-2 ครั้ง/เดือน ร้อยละ 44.50 ใช้บริการบัตรโทรศัพท์ ทีโอที 2-4 ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ 44.00 และจะใช้บัตรโทรศัพท์ ทีโอที เพื่อติดต่อธุระส่วนตัวร้อยละ 75.00 (2)ผู้บริโภคมีความ คิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อบัตรโทรศัพท์ ทีโอที ด้านผลิตภัณฑ์ รายการภาพบนบัตรโทรศัพท์ อยู่ในระดับปานกลาง (x=3.04) ด้านราคา รายการ ราคาบัตรโทรศัพท์เหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง (x=3.04)ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย รายการความสะดวกในการหาซื้อบัตรโทรศัพท์อยู่ในระดับมาก (x=3.50) ด้านการส่งเสริมการตลาด รายการการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อโฆษณาต่างๆ อยู่ในระดับปานกลาง (x=2.63) (3)ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริโภคตามลักษณะประชากรศาสตร์ พบว่า อายุ สถานภาพระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่ต่างกัน จะมีระดับความคิดเห็นในการตัดสินใจต่อปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 - 0.05 โดย อายุ และสถานภาพ ที่ต่างกัน จะมีระดับความคิดเห็นในการตัดสินใจซื้อด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05อาชีพ และการศึกษา ที่ต่างกัน จะมีระดับความคิดเห็นในการตัดสินใจซื้อด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 รายได้ที่ต่างกัน จะมีระดับความคิดเห็นในการตัดสินใจซื้อด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/558
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก3.05 MBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ2.36 MBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ3.16 MBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ2.39 MBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ7.53 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 17.98 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 213.4 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 36.57 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 491.26 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 515.31 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม2.35 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก7.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.