Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/560
Title: คุณค่าและกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยจากการประดิษฐ์เรือจิ๋ว ในเขตพื้นที่ภาคกลาง
Other Titles: The Value and The Thai Wisdom Socialization from Making Small Boat in Central Regional Area
Authors: พิชิตชัย, รัชตามพร
Ratchatamaporn, Pichitchai
Keywords: การประดิษฐ์ด้วยเศษวัสดุ
การแพร่กระจายวัฒนธรรม
ภูมิปัญญาไทย
การประดิษฐ์เรือจิ๋ว (วิทยานิพนธ์)
ภูมิปัญญาไทย (วิทยานิพนธ์)
Issue Date: 2008
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องคุณค่าและกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยจากการประดิษฐ์เรือจิ๋วในเขตพื้นที่ภาคกลาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกาาคุณค่าของภูมิปัยญาไทย ข้อดีและข้อจำกัดของการประดิษฐ์เรือจิ๋ว 2)เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย วิธีการถ่ายทอด ขั้นตอนการถ่ายทอดและรูปแบบการถ่ายทอดการประดิษฐ์เรือจิ๋ว และ 3)เพื่อหาแนวทางการพัฒนาคุณค่าและกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยจกาการประดิษฐ์เรือจิ๋ว ประชากรที่ใช้ในการศึกาาวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลหลักสองกลุ่มได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 3 ท่าน และผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้าน จำนวน 7 ท่าน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยการสัมภาษณ์แบบหยั่งลึกและ การสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมุล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1)คุณค่าของภูมิปัญญา ไทยจากการประดิษฐ์เรือจิ๋ว ประกอบด้วย 5 ด้านคือ ด้านความสวยงาม ด้านศิลปกรรม ด้านประวัติศาสตร์ ด้านภูมิปัญญา ของช่างประดิษญ์เรือจิ๋ว ด้านศิลปวัฒนธรรมและด้านคติความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีนิยม ทั้งต่อผู้ประดิษฐ์เรือจิ๋วและผู้ครอบครองเรือจิ๋ว ข้อดีที่พลคือ สามารถนำความรูไปประกอบอาชีพได้ และข้อจำกัด คือ ผู้สนใจจะต้องปฏิบัติตามหลักสูตรที่ปราชญ์ผู้ถ่ายทอดกำหนดไว้เท่านั้น 2)กระบนการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยจากการประดิษฐ์เรือจิ๋วมาจกาปราชญ์ชาวบ้านที่แตกฉานและมีประสบการณ์มายาวนาน โดยมีวิธีการถ่ายทอดจากการคัดเลือกผู้ที่สนใจจริง ๆ และมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ อาศัยขั้นตอนการถ่ายทอดโดยการให้ผู้สืบทอดได้ฝึกทำส่วนต่าง ๆ ของเรือ ออกมาเป็นรูปทรงที่ต้องการโดยให้รุ่นพี่เป็นผู้คอยฝึกรุ่นน้องและปราชญ์ชาวบ้านคอยเป็นที่ปรึกษา ยังมีรูปแบบการถ่ายทอดที่ปราชญ์ชาวบ้าานคัดเลือกผู้มีประสบการณ์ด้านศิลปะงานไม้โดยตรงมาเป็นผู้สืบทอด และ3)แนวทางการพัฒนาคุณค่าและกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยจากการประดิษฐ์เรือจิ๋ว เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านค่าตอบแทน โดยสามารถขายได้ราคาสูง จากการชายตามงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ทำให้มีผู้สนใจเข้ามศึกษามากขึ้น รวมทั้งความภาคภูมิใจในผลงานที่ผู้ผลิตเรือจิ๋วสามารถสืบทอดกระบวนการผลิตได้ครบตามขั้นตอนจนออกมาเป็นผลงานที่สวยงาม
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/560
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก1.78 MBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ1.3 MBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ3.4 MBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ11.51 MBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ3.32 MBAdobe PDFView/Open
Unit1.pdfบทที่ 118.11 MBAdobe PDFView/Open
Unit2.pdfบทที่ 2155.58 MBAdobe PDFView/Open
Unit3.pdfบทที่ 312.72 MBAdobe PDFView/Open
Unit4.pdfบทที่ 4195.01 MBAdobe PDFView/Open
Unit5.pdfบทที่ 520.73 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม14.62 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก8.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.