Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/628
Title: ความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส ยี่ห้อกิฟฟารีน ของผู้บริโภคสตรีในจังหวัดนนทบุรี
Other Titles: Satisfaction on Marketing Mix Factor Influencing of Evenning Prim Rose of GiffarineBrand of Nonthaburi Female Consumer
Authors: วาสนา, โอศิริ
O-Siri, Vasana
Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค - วิจัย
Issue Date: 2006
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การศึกษาอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส ยี่ห้อ "กิฟฟารีน" ของผู้บริโภคสตรีในจังหวัดนนทบุรี เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการซื่อผลิตภัณฑ์ และศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และข้อมูลสุขภาพ กับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อระดับของการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคสตรีจังหวัดนนทบุรี โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามจำนวน 300 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในการซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส โดยคำแนะนำจากคนรู้จัก และนิยมซื้อที่ร้านขายยาทั่วไปมากที่สุด โดยสาเหตุที่ทำให้ซื้อคือ ต้องการบำรุงผิวพรรณเพื่อความสวยงาม ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจเกี่ยวกับการได้รับการรับรองจาก อย. มากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุแตกต่างกัน ระดับความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมและในแต่ละด้าน ไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน ระดับความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมและในแต่ละด้าน ไม่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพแตกต่างกัน ระดับความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวม ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการจัดจำหน่าย ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการส่งเสริมการตลาด ระดับความพึงพอใจ แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน ระดับความพึงพอใจต่อส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมและด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกัน ส่วนด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการจัดจำหน่าย ระดับความพึงพอใจ ไม่แตกต่างกัน และกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานะสุขภาพ/โรคประจำตัวแตกต่างกัน ระดับความพึงพอใจต่อส่วนประสมมทางการตลาดในภาพรวมและในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/628
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก2 MBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ2.22 MBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ2.56 MBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ2.11 MBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ5.32 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 16.14 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 231.42 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 34.25 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 429.18 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 58.6 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม2.38 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก6.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.