Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/66
Title: การใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาไทยถิ่นใต้ ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา
Other Titles: A comparative study of lexical usage among three generations in Tambon Rommanee, Kapong district, Phang-nga province
Authors: ลักขณา, ทองสุข
Thongsuk, Lakkhana
Keywords: ภาษาไทยถิ่นใต้
Issue Date: 2014
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาไทยถิ่นใต้ ตำบลรมณีย์ อำเภอปะกง จังหวัดพังงา 2) ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงการใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาไทยถิ่นใต้ ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา และ 3) แนวโน้มการใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาไทยถิ่นใต้ ตำบลรมณีย์ อำเภอปะกง จังหวัดพังงาโดยสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากตำบลรมณีย์ 4 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 12 คน โดยแบ่งเป็นระดับอายุ 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 อายุ 56 ปี ขึ้นไป ระดับที่ 2 อายุ 36-55ปี และระดับที่ 3 อายุ 15-35 ปี ได้ผู้บอกภาษาจำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือรายการคำศัพท์พื้นฐาน จำนวน 500 คำ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือค่าร้อยละ นำเสนอผลการวิจัยโดยใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ตาราง และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า 1) การใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาไทยถิ่นใต้ ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา แบ่งการใช้คำศัพท์เป็น 2ประเภท คือ ประเภทที่ 1 มีการใช้คำศัพท์เดียวกันจำนวน 244 คำ คิดเป็นร้อยละ 48.80 และ ประเภทที่ 2 มีการใช้คำศัพท์ที่ต่างกัน จำนวน 256 คำ คิดเป็น ร้อยละ 51.20 2) ลักษณะการเปลี่ยนแปลงการใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาไทยถิ่นใต้ ตำบลรมณีย์ อำเภอปะกง จังหวัดพังงา มีการใช้คำศัพท์ที่ใช้ต่างกันเฉพาะบางส่วน จำนวน 83 คำ และคำศัพท์ใหม่ จำนวน 173 คำ 3) แนวโน้มการใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาไทยถิ่นใต้ ตำบลรมณีย์ อำเภอปะกง จังหวัดพังงา ผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 1 และ2 ยังคงใช้คำศัพท์เดียวกัน แต่ผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 2 จะเป็นกลุ่มที่เริ่มใช้คำศัพท์ใหม่เพิ่มขึ้น สำหรับผู้บอกภาษาระดับ อายุที่ 3 เป็นกลุ่มที่พูดภาษาไทยถิ่นใต้ ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา น้อยที่สุด นั่นแสดงให้เห็นว่า ระดับอายุเป็นปัจจัยทางสังคมประการหนึ่งที่มีผลต่อการใช้คำ และการเปลี่ยนแปลงภาษาของคนสามระดับอายุในภาษาไทยถิ่นใต้ ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 2 และผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 3 ได้รับอิทธิพลของภาษาไทยกรุงเทพฯ มากกว่าผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 1 อิทธิพลดังกล่าวได้ผ่านสื่อมวลชนการศึกษา ตลอดจนการพบปะกับคนต่างถิ่น ดังนั้นการใช้ภาษาของผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 2 และระดับอายุที่ 3 จึงมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 1 นอกจากนี้ การที่ผู้บอกภาษาระดับอายุที่ 2 ใช้คำยืมภาษาไทยกรุงเทพฯ มาจากความต้องการสื่อสารกับลูกหลาน ซึ่งเป็นผู้บอกภาษาระดับอายุที่ หากเหตุการณ์เช่นนี้ดำเนินการไปเรื่อยๆ จะเกิดภาวะวิกฤติในภาษาไทยถิ่นใต้ ตำบลรมณีย์ อำเภอปะกง จะงหวัดพังงา
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/66
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก330.42 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ331.9 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ119.22 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ336.1 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ305.28 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 11.04 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 24.36 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 31.35 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 423.69 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5509.7 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม506.57 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.