Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/673
Title: ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสถานพยาบาลเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Clients' Satisfaction towards the Services of the Universal Coverage Health Insurance Programme of Hospitals in Samphanthawong District, Bangkok
Authors: ลือชา, โพธิ์พัฒนพงศ์
Photipatanapong, Leacha
Keywords: ประกันสุขภาพ,ความพึงพอใจผู้ใช้บริการ,สถานพยาบาล,โครงการหลักประกันสุขภาพ,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2007
Publisher: Dhonburi Rajabhat University.Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสถานพยาบาลเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสถานพยาบาลเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน เพื่อศึกษาปัญหาในการใช้บริการ และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของผู้ใช้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสถานพยาบาลเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสถานพยาบาลเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ในเดือนกรกฎาคม 2549 จำนวน 370 คน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสถานพยาบาลเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความพึงพอใจด้านอุปกรณ์การแพทย์สูงกว่าด้านอื่น รองลงมาตามลำดับคือ ความพึงพอใจด้านบริการทั่วไป ด้านสถานที่ ด้านบุคลากร ด้านคุณภาพของบริการ และด้านความเสมอภาค ผู้ใช้บริการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันด้านอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน มีความพึงพอใจในการใช้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้ใช้บริการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างด้านเพศ อาชีพ ความถี่ในการใช้บริการปีต่อไป ระยะเวลาในการใช้บริการนับจากเริ่มมีสิทธิในบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า และค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษาต่อครั้ง มีความพึงพอใจในการใช้บริการไม่แตกต่างกัน ด้านปัญหาในการใช้บริการ ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เห็นว่า มีปัญหาการไม่ได้รับความใส่ใจในการรักษา เนื่องจากค่าบริการทางการแพทย์ต่ำ รองลงมาตามลำดับคือ ปัญหาการจัดระบบส่งต่อผู้ป่วยที่ไม่ได้รับความสะดวกในการไปใช้บริการ และปัญหาผู้ป่วยอยู่นอกพื้นที่บริการ ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เสนอแนะว่า แพทย์ และพยาบาล ควรอธิบายเรื่องโรค และแนวทางการรักษาอย่างชัดเจนแก่คนไข้ ควรจัดให้มีแพทย์เฉพาะทางเพิ่มขึ้น ควรแจ้งให้ทราบถึงรายละเอียดวัน เวลา ตรวจรักษาอย่างชัดเจน รวมทั้งควรระบุชื่อแพทย์ที่ตรวจรักษาในแต่ละวัน ในช่วงเวลากลางคืนควรสนใจ เอาใจใส่ผู้ป่วยให้มากขึ้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/673
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก241.93 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ160.47 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ420.77 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ157.37 kBAdobe PDFView/Open
Table_of_contents.pdfสารบัญ805.16 kBAdobe PDFView/Open
Unit_1.pdfบทที่ 11.53 MBAdobe PDFView/Open
Unit_2.pdfบทที่ 280.29 MBAdobe PDFView/Open
Unit_3.pdfบทที่ 31.83 MBAdobe PDFView/Open
Unit_4.pdfบทที่ 424.62 MBAdobe PDFView/Open
Unit_5.pdfบทที่ 52.88 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม1.2 MBAdobe PDFView/Open
Appendix .pdfภาคผนวก2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.