Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/699
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวีณา, ตังละแม-
dc.contributor.authorTunglamea, Veena-
dc.date.accessioned2017-09-13T06:16:06Z-
dc.date.available2017-09-13T06:16:06Z-
dc.date.issued2012-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/699-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเป็นมาของแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์การทำประติมากรรม โดยการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ 2) ภูมิปัญญาไทยในการทำประติมากรรม และ 3) แนวทางอนุรักษ์ รวมทั้งการถ่ายทอดในการทำประติมากรรมของพระสถาปนา พุทธิวังโส ให้สืบทอดเป็นมรดกไทยต่อไป ในเขตชุมชนบางกอกน้อย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย และผู้รับการถ่ายทอด วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย การศึกษา การสำรวจ การสัมภาษณ์ การสังเกตการศึกษาเอกสารอ้างอิง การสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็นสำคัญ ผลการวิจัย พบว่า 1) พระสถาปนา พุทธิวังโส เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นำทางด้านภูมิปัญญาไทยอย่างแท้จริง ในการพัฒนาประติมากรรมโดยการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ โดยมีแรงบันดาลใจจากการรักธรรมชาติ รักต้นไม้ และสัตว์เลี้ยง มีประสบการณ์เกี่ยวกับวิถีชีวิตสัตว์และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้าง และสังเกตการณ์การทำงานของผู้รู้ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) พระสถาปนา พุทธิวังโส มีกระบวนการทำประติมากรรมโดยการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ 8 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการสำรวจพื้นที่ ขั้นตอนการออกแบบ ขั้นตอนการประกอบโครงสร้าง ขั้นตอนการปั้น ขั้นตอนตรวจสอบและการตกแต่ง ขั้นตอนการแต่งสีและเคลือบสี ขั้นตอนการติดตั้งชิ้นงาน และขั้นตอนการทดสอบระบบ 3) แนวทางอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาไทย ท่านมีกระบวนการวิเคราะห์สภาพปัญหาในปัจจุบัน ค้นคิดแนวทางที่จะอนุรักษ์และพัฒนา รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บุคคลในหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้คนรุ่นหลังรู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว โดยเน้นการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ให้มีประโยชน์ และเน้นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน องค์ประกอบในการถ่ายทอด ผู้รับการถ่ายทอด และวิธีการถ่ายทอด ได้แก่ การสังเกต การฝึกทำด้วยตนเอง การฝึกปฏิบัติจากเพื่อนบ้านที่เป็นผู้รู้ และการเข้ารับการฝึกอบรมจากหน่วยงานอื่นen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectพระสถาปนา พุทธิวังโส,ภูมิปัญญาไทย,ประติมากรรม,การนำวัสดุที่ใช้แล้วมาใช้ใหม่,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleพระสถาปนา พุทธิวังโสกับภูมิปัญญาไทยในการพัฒนาประติมากรรม โดยการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่en_US
dc.title.alternativePhra Sathapana Buddhivangso and Thai Wisdom in Sculpture Development by Recycling the used Materialsen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก347.93 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ341.37 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ515.52 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ29.48 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ326.15 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1649.44 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 215.95 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 369.9 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 45.42 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 5691.11 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม537.04 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก7.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.