Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/705
Title: อิทธิพลของโครงการพัฒนาเสริมสร้างจิตพฤติกรรมที่มีต่อจิตสาธารณะการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Effect of Psychological Characters Supporting Development Project Toward Public Mind Characteristics Concerning Arts Heritage Conservation of Rajabhat University's Students in the Area of Bangkok Metropolitan.
Authors: วีรชัย, คำธร
Kamthorn, Wirachai
Keywords: จิตสำนึก
การอนุรักษ์มรดก
ศิลปกรรม
จิตสาธารณะ
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2013
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งศึกษาอิทธิพลของโครงการเสริมสร้างพัฒนาจิตพฤติกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจิตสาธารณะการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรม อีกทั้งมุ่งศึกษาอิทธิพลของปัจจัยสมทบร่วมกับโครงการที่มีอิทธิพลต่อจิตสาธารณะการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมและนอกจากนี้มุ่งศึกษาตัวแปรอธิบายจิตสาธารณะการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ 6 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีตัวแปรอธิบายได้แก่ ปัจจัยสาเหตุสมทบจิตเดิม ปัจจัยเชิงเหตุสมทบด้านสถานการณ์ และปัจจัยการจัดกระทำในโครงการพัฒนาเสริมสร้างจิตพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ 6 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,904 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าจำนวน 13 ชุด ซึ่งแต่ละชุดมีค่าความเชื่อมั่น ระหว่าง .56-.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 3 ทาง (Three Way Analysis of Variance) และการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ทำทั้งแบบรวม (Total) และแบบเป็นขั้น (Stepwise) วิเคราะห์ทั้งในกลุ่มรวมและกลุ่มย่อย ผลการศึกษาที่สำคัญพบดังนี้ ผลเปรียบเทียบตามลักษณะการจัดกระทำ พบ 5 ประเด็น คือ (1) ในหมู่นักศึกษาที่มีทัศนคติต่อมรดกศิลปกรรมดีมาก มีสุขภาพจิตดีมาก มีการเปิดรับสื่อมรดกศิลปกรรมมาก มีจิตสาธารณะ ด้านความตั้งใจที่จะอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ด้านการถือเป็นหน้าที่ในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก และด้านเคารพสิทธิผู้อื่นในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎในกลุ่มรวม (2) ในหมู่นักศึกษาที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มาก มีความเชื่อทางพุทธมาก มีการเห็นแบบอย่างการรักษ์มรดกทางศิลปกรรมมาก มีจิตสาธารณะด้านการถือเป็นหน้าที่ในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎในกลุ่มรวม (3) ในหมู่นักศึกษาที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มาก มีความเชื่อทางพุทธมาก มีการเห็นแบบอย่างการรักษ์มรดกทางศิลปกรรมมาก มีจิตสาธารณะด้านเคารพสิทธิผู้อื่นในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎในกลุ่มรวม (4) ในหมู่นักศึกษาที่มีลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมาก มีเหตุผลเชิงจริยธรรมมาก มีการรับรู้สภาวะสังคมมาก มีจิตสาธารณะด้านเคารพสิทธิผู้อื่นในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎในกลุ่มรวม (5) ในหมู่นักศึกษาที่มีความเชื่ออำนาจในตนมาก มีความเชื่อทางพุทธมาก มีการเห็นแบบอย่างการรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก มีจิตสาธารณะ ด้านความตั้งใจที่จะอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ด้านเคารพสิทธิผู้อื่นในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎในกลุ่มรวม ผลเปรียบเทียบตามลักษณะทางชีวสังคม พบ 10 ประเด็นดังนี้ (1) ในหมู่นักศึกษาที่มีทัศนคติต่อมรดกศิลปกรรมดีมาก มีสุขภาพจิตดีมาก มีการเปิดรับสื่อมรดกศิลปกรรมดีมาก มีจิตสาธารณะด้านความตั้งใจในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎใน 16 กลุ่มย่อย (2) ในหมู่นักศึกษาที่มีทัศนคติต่อมรดกศิลปกรรมดีมาก มีสุขภาพจิตดีน้อย มีการเปิดรับสื่อมรดกศิลปกรรมดีมาก มีจิตสาธารณะด้านการถือเป็นหน้าที่ในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎ 18 กลุ่มย่อย (3) ในหมู่นักศึกษาที่มีทัศนคติต่อมรดกศิลปกรรมดีมาก มีสุขภาพจิตดีน้อย มีการเปิดรับสื่อมรดกศิลปกรรมมาก มีจิตสาธารณะด้านเคารพสิทธิผู้อื่นในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎทั้ง 18 กลุ่มย่อย (4) ในหมู่นักศึกษาที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มาก มีความเชื่อทางพุทธมาก มีการเห็นแบบอย่างการรักษ์มรดกทางศิลปกรรมมาก มีจิตสาธารณะด้านการถือเป็นหน้าที่ในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎใน 9 กลุ่มย่อย (5)ในหมู่นักศึกษาที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มากมีความเชื่อทางพุทธมาก มีการเห็นแบบอย่างการรักษ์มรดกทางศิลปกรรมมาก มีจิตสาธารณะด้านเคารพสิทธิผู้อื่นในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎใน 15 กลุ่มย่อย (6) ในหมู่นักศึกษาที่มีลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมาก มีเหตุผลเชิงจริยธรรมมาก มีการรับรู้สภาวะสังคม (ประสบการณ์) มาก มีจิตสาธารณะด้านความตั้งใจที่จะอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎใน 2 กลุ่มย่อย (7) ในหมู่นักศึกษาที่มี ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมาก มีเหตุผลเชิงจริยธรรมมาก มีการรับรู้สภาวะสังคมมาก มีจิตสาธารณะด้านการถือเป็นหน้าที่ในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎใน 1 กลุ่มย่อย (8) ในหมู่นักศึกษาที่มี ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนมาก มีเหตุผลเชิงจริยธรรมมาก มีการรับรู้สภาวะสังคมมาก มีจิตสาธารณะด้านเคารพสิทธิผู้อื่นในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎใน 3 กลุ่มย่อย (9) ในหมู่นักศึกษาที่มีความเชื่ออำนาจในตนมาก มีความเชื่อทางพุทธมาก มีการเห็นแบบอย่างการรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก มีจิตสาธารณะด้านความตั้งใจที่จะอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎใน 7 กลุ่มย่อย (10) ในหมู่นักศึกษาที่มีความเชื่ออำนาจในตนมาก มีความเชื่อทางพุทธมาก มีการเห็นแบบอย่างการรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก มีจิตสาธารณะด้านเคารพสิทธิผู้อื่นในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมมาก ปรากฎใน 7 กลุ่ม ผลศึกษาตัวทำนายของจิตสาธารณะการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมพบ 4 ประเด็นดังนี้ ประการที่ 1 จิตสาธารณะด้านความตั้งใจที่จะอนุรักษ์มรดกศิลปกรรม พบว่า มีตัวทำนายชุดที่ 1 คือ ทัศนคติต่อมรดกศิลปกรรมสุขภาพจิต มีน้ำหนักทำนาย (B) .42-.29 ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนายเป็น 21.6 ตัวทำนายชุดที่ 2 คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่อทางพุทธ มีน้ำหนักทำนาย (B) .52, -.26 ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนายเป็น 25.8 ตัวทำนายชุดที่ 3 คือ เหตุผลเชิงจริยธรรมลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน การรับรู้สภาวะสังคัม (ประสบการณ์) มีน้ำหนักทำนาย (B) .26,-.21,.11 ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนายเป็น 11.7 ประการที่ 2 จิตสาธารณะด้านการถือเป็นหน้าที่ในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรม พบว่า มีตัวทำนายชุดที่ 1 คือ ทัศนคติต่อมรดกศิลปกรรม การเปิดรับสื่อมรดกศิลปกรรม สุขภาพจิต มีน้ำหนักทำนาย (B) .48,.23-.09 ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนายเป็น 36.3 ตัวทำนายชุดที่ 2 คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การเห็นแบบอย่างการรักษ์มรดกศิลปกรรม ความเชื่อทางพุทธ มีน้ำหนักทำนาย (B) .55,.16,-.10 ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนายเป็น 35.8 ตัวทำนายชุดที่ 3 คือ เหตุผลเชิงจริยธรรม การรับรู้สภาวะสังคม มีน้ำหนักทำนาย (B) .26,.01 ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนายเป็น 6.8 ประการที่ 3 จิตสาธารณะด้านเคารพสิทธิผู้อื่นร่วมอนุรักษ์มรดกศิลปกรรม พบว่า มีตัวทำนายชุดที่ 1 คือ ทัศนคติต่อมรดกศิลปกรรม การเปิดรับสื่อมรดกศิลปกรรม สุขภาพจิต มีน้ำหนักทำนาย (B) .47,.25-.17 ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนายเป็น 36.5 ตัวทำนายชุดที่ 2 คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่อทางพุทธ มีน้ำหนักทำนาย (B) .58,-.13 ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนายเป็น 31.9 ตัวทำนายชุดที่ 3 คือ เหตุผลเชิงจริยธรรม การรับรู้สภาวะสังคม มีน้ำหนักทำนาย (B) .25, .09 ตามลำดับ ค่าร้อยละการทำนายเป็น 6.7 ประการที่ 4 การศึกษาตัวแปรที่อิทธิพลเส้นทางต่อจิตสาธารณะการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรม พบว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีอิทธิพลเส้นทางต่อจิตสธารณะด้านความตั้งใจที่จะอนุรักษ์มรดกศิลปกรรม ด้านการถือเป็นหน้าที่ในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรม และด้านเคารพสิทธิผู้อื่นในการร่วมอนุรักษ์มรดกศิลปกรรม อีกทั้งพบผลดีของการฝึกอบรมตามกิจกรรมการพัฒนาในโครงการพัฒนาเสริมสร้างจิตพฤติกรรม 3 กิจกรรม ได้แก่ (1) การพัฒนาทัศนคติต่อมรดกทางศิลปกรรม (2) การพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (3) การพัฒนาความเชื่ออำนาจในตน ซึ่งผลปรากฎอย่างเด่นชัดในกลุ่มทดลอง 80%
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/705
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก698.75 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ2.27 MBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ460.92 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ1.89 MBAdobe PDFView/Open
unit1.pdfบทที่ 13.25 MBAdobe PDFView/Open
unit2.pdfบทที่ 214.49 MBAdobe PDFView/Open
unit3.pdfบทที่ 33.23 MBAdobe PDFView/Open
unit4.pdfบทที่ 441.62 MBAdobe PDFView/Open
unit5.pdfบทที่ 55.75 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม3.09 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก24.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.