Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/824
Title: แนวทางการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงทางอาชีพและทางสังคมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรชาวนาในอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
Other Titles: The Practices for Occupational and Social Stability According to Sufficient Economy Philosophy of Rice Fermers in Thawung District, Lopburi Province
Authors: อำนาจ, จริงประโคน
Chringprakon, Amnat
Keywords: เศรษฐกิจพอเพียง,ชาวนา,เกษตรกรรม,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2012
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงทางอาชีพและทางสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรชาวนาในอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี 2) เปรียบเทียบแนวทางปฏิบัติเพื่อความมั่นคงทางอาชีพและทางสังคม ตามตัวแปรส่วนบุคคลของเกษตรชาวนา และ 3) ศึกษาความคิดเห็นเพิ่มเติมของเกษตรกรชาวนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เกษตรกรชาวนาในอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .967 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และค่าเอฟ ผลการวิจัย พบว่า 1) โดยภาพรวม เกษตรกรชาวนาในอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี มีการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงทั้งทางอาชีพและทางสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงทางอาชีพ พบว่า เกษตรกรชาวนามีการปฏิบัติในด้านการมีความรู้ ความรอบคอบ และการมีคุณธรรมในการประกอบอาชีพทำนา เป็นค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงทางสังคม พบว่า เกษตรกรชาวนา มีการปฏิบัติในด้านการมีคุณธรรมในการอยู่ร่วมกันในครอบครัวและชุมชน เป็นค่าเฉลี่ยสูงสุด 2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงทางอาชีพ พบว่า เกษตรกรชาวนาที่มีเพศจำนวนแรงงานในครัวเรือน และเขตตำบลที่ประกอบอาชีพต่างกัน โดยภาพรวม มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนเกษตรกรชาวนาที่มีอายุและระยะเวลาในการประกอบอาชีพต่างกัน โดยภาพรวม มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เกษตรกรชาวนาที่มีการศึกษา สถานภาพสมรส สภาพการถือครองที่ดิน และจำนวนครั้งที่เพาะปลูกต่างกัน โดยภาพรวม มีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน 3) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงทางสังคม พบว่า เกษตรกรชาวนาที่มี เพศ ระยะเวลาในการประกอบอาชีพ และเขตตำบลที่ประกอบอาชีพต่างกัน โดยภาพรวม มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เกษตรกรชาวนาที่มีสภาพ การถือครองที่ดินต่างกัน โดยภาพรวม มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเกษตรกรชาวนาที่มีอายุ การศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนแรงงานในครัวเรือน และจำนวนครั้งที่เพาะปลูกต่างกัน โดยภาพรวม มีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน 4) ความคิดเห็นเพิ่มเติมของเกษตรกรชาวนา เกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงทางอาชีพที่มีความถี่สูงสุด ได้แก่ ผู้นำชุมชนควรจะช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาในด้านการประสานงานกับแหล่งรับซื้อผลผลิตและแหล่งทุน (59 ราย) ส่วนข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อความมั่นคงทางสังคม ที่มีความถี่สูงสุด ได้แก่ ควรเปิดโอกาสให้เกษตรกรชาวนาเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาชุมชน (53 ราย)
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/824
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก646.76 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ348.56 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ125.56 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ34.29 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ1.85 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 11.51 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 29.18 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 31.41 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 412.62 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 53.69 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม930.98 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก2.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.