Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/836
Title: บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Role of School Administrators in Management of Student-Centered Learning in the Elementary Schools under Bangkok Metropolitan Administration
Authors: อนัญญา, กรังพานิช
Krungpanit, Ananya
Keywords: ผู้บริหารโรงเรียน,การเรียนรู้,ผู้เรียน,โรงเรียนประถมศึกษา,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2006
Publisher: Dhonburi Rajabhat University.Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามบทบาทของผู้บริหารโรงเรียน ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เปรียบเทียบการปฏิบัติตามบทบาทของผู้บริหารโรงเรียน ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จำแนกตามประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งผู้บริหาร เพศ และขนาดโรงเรียน เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ การปฏิบัติตามบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 203 คน ของสังกัดกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 3 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปได้แก่ เพศ ประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งและขนาดของโรงเรียนเป็นแบบตรวจสอบรายการ ตอนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับบทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีด้วยกัน 8 ด้าน เครื่องมือเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ตอนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิดและแบบตรวจสอบให้ผู้ตอบแบบสอบถามปลายเปิดและแบบตรวจสอบให้ผู้ตอบแบบสอบถามเสนอปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า (1)การปฏิบัติตามบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร รวมทุกด้านโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการสร้างความร่วมมือกับชุมชนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (2)เปรียบเทียบการปฏิบัติตามบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนจำแนกตามประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งผู้บริหาร พบว่าโดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร ด้านการพัฒนาบุคลากรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เปรียบเทียบการปฏิบัติตามบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนจำแนกตามเพศ พบว่าโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ด้านการสร้างความร่วมมือกับชุมชน ด้านการเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความแตกต่างกัน การเปรียบเทียบการปฏิบัติตามบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนจำแนกตามขนาดโรงเรียน เล็ก กลาง ใหญ่ โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน (3)ปัญหา อุปสรรค การปฏิบัติตามบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า ครูผู้สอนคุ้นเคยกับการสอนในรูปแบบเดิมเป็นปัญหาอุปสรรคสูงสุด ข้อเสนอแนะสูดสุดคือ ควรลดกิจกรรมบางประการลงจะได้มีเวลาสอนมากขึ้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/836
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก2.48 MBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ2.33 MBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ2.73 MBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ2.44 MBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ7.53 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 110.87 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 287 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 34.94 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 423.19 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 515.95 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม6.5 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก24.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.