Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/923
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกิติยา, โต๊ะทอง-
dc.contributor.authorTotong, Kitiya-
dc.contributor.authorนิตยา, ทนุวงษ์ วงศ์เสงี่ยม-
dc.contributor.authorTanuwong Wongsangiem, Nitaya-
dc.contributor.authorมนัส, วงศ์เสงี่ยม-
dc.contributor.authorWongsangiem, Manas-
dc.date.accessioned2018-02-15T03:57:14Z-
dc.date.available2018-02-15T03:57:14Z-
dc.date.issued2017-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/923-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการ ปัญหาและอุปสรรคของชาวไทยมุสลิมเมื่อเข้ารับบริการสาธารณสุข รวมทั้งศึกษาความรู้ความเข้าใจ ปัญหาและอุปสรรคของผู้บริหารและผู้ให้บริการสาธารณสุข เพื่อหาแนวทางในการจัดบริการสาธารณสุขที่สอดคล้องกับวิถีอิสลาม และเสริมสร้างประเด็นที่เอื้อต่อการเข้ารับบริการสาธารณสุขของชาวไทยมุสลิม โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ถูกคัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้รับบริการซึ่งเป็นชาวไทยมุสลิมหรือญาติ 52 คน 2) กลุ่มผู้ให้บริการซึ่งเป็นแพทย์หรือพยาบาล 47 คน และ 3) กลุ่มผู้บริหาร 11 คน ดำเนินการเก็บข้อมูล ณ โรงพยาบาลรัฐบาล จำนวน 8 แห่งซึ่งเป็นตัวแทนโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคจากแต่ละภูมิภาค 6 แห่ง และเป็นตัวแทนโรงพยาบาลส่วนกลางในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการศึกษา พบว่า ประเด็นหลักที่เป็นปัญหาในการเข้ารับบริการสาธารณสุขของชาวไทยมุสลิม คือ เรื่องอาหารฮาลาล สถานที่ละหมาด และสถานที่อาบน้ำละหมาด ผู้ให้บริการและผู้บริหารยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีมุสลิมที่คลาดเคลื่อนในเรื่องของอาหารฮาลาล และสถานที่อาบน้ำละหมาด ปัญหาและข้อจำกัดในการจัดบริการสาธารณสุขที่สอดคล้องตามวิถีอิสลาม ได้แก่ 1)ด้านองค์ความรู้ และความเข้าใจของผู้บริหารโรงพยาบาล 2) บริบทด้านพื้นที่ สภาพแวดล้อมของโรงพยาบาล และ 3) ด้านเศรษฐศาสตร์ความคุ้มทุน แนวทางในการจัดบริการสาธารณสุขตามวิถีอิสลาม ได้แก่ 1) บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เป็นมุสลิมควรเข้ามามีส่วนร่วมในการสะท้อนปัญหาและให้ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารโรงพยาบาล 2) ชุมชนมุสลิมหรือหน่วยงานองค์กรด้านศาสนาอิสลามในพื้นที่ควรให้คำแนะนำและประสานความร่วมมืิอกับโรงพยาบาลในการพัฒนาบริการสาธารณสุขตามวิถีอิสลามen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectบริการทางการแพทย์en_US
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleบริการสาธารณสุขที่จำเป็นสำหรับชาวไทยมุสลิม : ช่องว่างแห่งระบบบริการสาธารณสุขไทยen_US
dc.title.alternativeNeeds for Thai Muslim : Gaps in Thai Health Service Systemen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก575.45 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ726.45 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ688.65 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ154.12 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 12.67 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 23.03 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 31.08 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 48.05 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 55.95 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม209.5 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.