Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/924
Title: การเสริมสร้างศักยภาพการทำประมงพื้นบ้าน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อการสืบทอดภูมิปัญญา
Other Titles: To Enhance Folk Fishery Potentiality, Prasamut Chedi District, Samutprakarn Province. for Transferring Local Wisdom.
Authors: สุทธิชัย, ฉายเพชรากร
Jaypetjarakorn, Sutichai
วิไล, ตั้งจิตสมคิด
Tangchitsomkit, Wilai
วาศิณี, สุวรรณระวี
Suwanrawee, Wasinee
Keywords: การประมง
การพัฒนาศักยภาพ
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2017
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การศึกษาการเสริมสร้างศักยภาพการทำประมงพื้นบ้าน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อการสืบทอดภูมิปัญญา มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการประมงพื้นบ้าน 2. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชาวประมงพื้นบ้านและ 3. เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์การทำประมงพื้นบ้าน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลและปราชญ์ชาวบ้านด้านประมงพื้นบ้านในพื้นที่ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ กล้องบันทึกภาพ เครื่องถ่ายวิดีทัศน์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์และการสังเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1.ผลการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำประมงพื้นบ้าน พบว่ามี 2 ลักษระ ได้แก่ 1.1 ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเจ้าของภูมิปัญญา มีจำนวน 4 ชนิด เป็นเครื่องมือประมง 3 ชนิด คือ การเย็บอวนจับกุ้ง การทำทุ่นผูกอวนลอยปลาจากไม้ทองหลาง การหา/ จับปูทะเลและผลิตภัณฑ์จากการประมง 1 ชนิด คือ การทำปลาแดดเดียว ลักษณะการเรียนรู้ การสร้างสรรค์และการสั่งสมภูมิปัญญา มี 3 ลักษณะ คือ 1) เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้แก่ การลองผิดลองถูก การลงมือกระทำจริงและครูพักลักจำ 2) เรียนรู้จากการถ่ายทอดความรู้ ได้แก่ เรียนรู้จากบรรพบุรุษ/ ครอบครัว เรียนรู้จากเพื่อนบ้าน/คนในชุมชน 3) เรียนรู้จากวัฒนธรรมประเพณีและวิถีการดำรงชีวิต ได้แก่ การเรียนรู้จากพิธีกรรม การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และจากวิถีการดำรงชีวิต ลักษณะการถ่ายทอดภูมิปัญญา 1) กลุ่มผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญา ได้แก่ ครอบครัว เครือข่ายในชุมชน 2) วิธีถ่ายทอดภูมิปัญญา ได้แก่ การบอกเล่า บรรยายด้วยวาจาตนเอง การสาธิต และการถ่ายทอดผ่านวัฒนธรรมประเพณีและวิถีการดำรงชีวิต ได้แก่ การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ 1.2 ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ไม่มีเจ้าของภูมิปัญญาเป็นเครื่องมือประมงพื้นบ้านมีจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ กระชังดักปลากระจัง(ปลาตีน) คันเบ็ดตกปูทะเล ชิบไสกุ้ง ชิบไสเคย ลอบดักปลา ดักกุ้ง 2.การเสริมสร้างศักยภาพชาวประมงพื้นบ้าน ได้แก่ 2.1 การพัฒนาตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ 2 ลักษณะ คือ (1) ตราสัญลักษณ์ต้นแบบ (2) ตราสัญลักษณ์รูปแบบสติ๊กเกอร์ 2.2 บรรจุภัณฑ์ 2 ลักษณะ คือ (1) เครื่องซีลสูญญากาศ (2) ถุงสำหรับใส่ผลิตภัณฑ์และสินค้าชุมชน 3.การส่งเสริมการอนุรักษ์การทำประมงพื้นบ้าน ได้แก่ 3.1 การจัดทำระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาการทำประมงพื้นบ้าน ชื่อเว็บไซต์ คือ การเสริมสร้างศักยภาพการทำประมงพื้นบ้าน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ และโดเมน คือ http://research.dru.ac.th/fcm/index.html ประกอบด้วย (1) ความเป็นมาและวิธีดำเนินการวิจัย ข้อมูลเกี่ยวกับบ้านขุนสมุทรจีน (2) ข้อมูลภูมิปัญญาการทำประมงพื้นบ้านโดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ภูมิปัญญาที่มีเจ้าของ และภูมิปัญญาที่ไม่มีเจ้าของ (3) วิดีทัศน์วิธีการทำเครื่องมือประมงพื้นฐานและผลิตภัณฑ์จากการทำประมงพื้นบ้าน 3.2 การจัดทำสื่อเผยแพร่ภูมิปัญญาประมงพื้นบ้าน ลักษณะ คือ (1) เอกสารภูมิปัญญาประมงพื้นบ้าน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ (2) อัพโหลดวีดิทัศน์บน YouTube
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/924
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก57.52 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ107.21 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ46.91 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ106.17 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1108.09 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2761.99 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 390.56 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 49.46 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5190.45 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม84.52 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก7.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.