Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/925
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนงเยาว์, อุทุมพร-
dc.contributor.authorUtoomporn, Nongyao-
dc.date.accessioned2018-02-15T09:44:22Z-
dc.date.accessioned2018-02-15T09:44:30Z-
dc.date.available2018-02-15T09:44:22Z-
dc.date.available2018-02-15T09:44:30Z-
dc.date.issued2017-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/925-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ของอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 2)ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษา อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 3)ศึกษาแนวทางในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษา อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอพระประแดง จำนวน 30 คน กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน ศึกษานิเทศก์ ผู้นำชุมชน ผู้บริหารท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผู้เกี่ยวข้องในอำเภอพระประแดงจำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแนวคำถามสำหรับสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1)ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอพระประแดงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 40-60 ปี จบการศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา อาศัยอยู่ในตำบลบางน้ำผึ้งมากที่สุด ผลงานส่วนใหญ่เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือและมีความเก่าแก่ สาขาที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมากที่สุดคือ สาขาศิลปกรรมด้านงานประดิษฐ์ รองลงมาคือ สาขาคหกรรมด้านอาหาร กระบวนการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ มีลักษณะที่แตกต่างกันคือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การสืบทอดจากบรรพบุรุษ การเรียนรู้จากครูอาจารย์ และการรับการฝึกอบรม สำหรับกรรมวิธีในการผลิตก็จะไม่ซับซ้อนเน้นการผลิตที่ทำกันได้ง่ายและใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น 2)สภาพการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษา ได้แก่ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการให้ข้อมูลและการวางแผน การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลกลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่วมเป็นหลักมี 10 กลุ่ม ได้แก่ 1)คณะกรรมการสถานศึกษา 2)ผู้ปกครองนักเรียน 3)ครู/ผู้ที่เกษียณอายุราชการ 4) ผู้บริหารสถานศึกษา 5) ครูผู้สอน 6) ผู้นำชุมชน 7)คนในพื้นที่ 8)ภูมิปัญญาท้องถิ่น 9)ศึกษานิเทศก์ 10) หน่วยงานราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ 3) แนวทางในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษา คือจัดทำเป็นทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปของเว็บไซต์และการจัดทำเป็นเอกสาร ซีดี สื่อสิ่งพิมพ์ วีดิทัศน์ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจัดให้มีงานนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่นและผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับควรมีนโยบายส่งเสริมหลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษาอย่างจริงจัง และการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ในสื่อต่างๆen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectภูมิปัญญาท้องถิ่นen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมของชุมชนen_US
dc.subjectสถานศึกษาen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษาในสถานศึกษาen_US
dc.title.alternativeParticipation of community for local wisdom to education management in the school, Phapadeang district, Samutprakran provinceen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก144.47 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ117.25 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ88.85 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ238.21 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1177.07 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2545.28 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3157.95 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4522.26 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5255.23 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม193.36 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก7.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.