Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/926
Title: การอนุรักษ์ไม้ป่าชายเลนเพื่อการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Conserving the Mangrove Forest to Promote Community Enterprise,Samut prakarn Province
Authors: พรศิริ, กองนวล
kongnual, Pornsiri
Keywords: ป่าชายเลน
การอนุรักษ์ป่าชายเลน
ทรัพยากรธรรมชาติ
วิสาหกิจชุมชน
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2012
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การศึกษาการอนุรักษ์ไม้ป่าชายเลนเพื่อการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดไม้สภาพไม้ป่าชายเลนในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ และส่งเสริมไม้ป่าชายเลนเป็นวิสาหกิจชุมชน ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ประชาชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในพื้นที่ศึกษา คือ อำเภอเมือง อำเภอบางบ่อ และอำเภอพระสมุทรเจดีย์ วิธีดำเนินการศึกษษ 1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลชนิดไม้ป่าชายเลน บริบททั่วไปด้านไม้ป่าชายเลนของจังหวัดสมุทรปราการ สถานภาพความเป็นเจ้าของ วัตถุประสงค์ การใช้ประโยชน์ ปัญหา การอนุรักษ์ไม้ป่าชายเลน และการพัฒนาไม้ป่าชายเลนเป็นวิสาหกิจชุมชน ผลการศึกษามีดังนี้ พันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่พบมี 32 ชนิด ประชาชน เอกชน ภาครัฐ เป็นเจ้าของ มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ไม้ป่าชายเลน/ชายฝั่งทะเล การเกษตรกรรม และการค้า/ธุรกิจ มีการอนุรักษ์ไม้ป่าชายเลน เช่น การปลูกไม้ป่าชายเลน การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ การใช้ประโยชน์จากไม้ป่าชายเลน ได้แก่ เป็นอาหาร ที่อยูอาศัยของพืชและสัตว์ ป้องกันแนวชายฝั่งทะเลควบคุมการกัดเซาะพังทลาย ซับน้ำเสีย ผลิตภัณฑ์จากไม้ เชื้อเพลิง วัสดุก่อสร้าง อาหาร ยา และเครื่องดื่ม แหล่งประมงชายฝั่ง เป็นแหล่งพักอาศัยสัตว์ 2 การพัฒนาไม้ป่าชายเลนเป็นวิสาหกิจชุมชนทุกภาคส่วนมีความคิดเห็นว่ามีความเป็นไปได้และควรมีารดำเนินการ ในส่วนของการพัฒนา ได้แก่ 1.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.การจัดตั้งเครือข่ายอนุรักษ์ไม้ป่าชายเลนเพื่อวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ 3.การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการตลาดไม้ป่าชายเลนเพื่อวิสาหกิจชุมชน และ 4.การทำเว็บไซต์เครือข่ายอนุรักษ์ไม้ป่าชายเลนเพื่อวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสมุทรปราการ สรุปเป็นรูปแบบการอนุรักษ์ไม้ป่าชายเลนเพื่อวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสมุทรปรการ ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ 1. การศึกษาศักยภาพ ได้แก่ความเป็นมา วิธีการดำเนินงานหรือการบริหารจัดการ องค์ความรู้ของชุมชนและของสมาชิกซึ่งมีความสำคัญเนื่องจากเป็นข้อมูลพื้นฐานที่เป็นแนวทางจะนำไปสู่การพัฒนา 2.การสร้างศักยภาพการรวมกลุ่ม และสร้างเครือข่าย ในการดำเนินงานเพื่อกำหนดโครงสร้างและสร้างกลไกในการดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพและ 3.การเสริมสร้างศักยภาพโดยการให้ความรู้ด้วยวิธีต่างๆที่เป็นไปตามความต้องการ และความเหมาะสมกับสภาพของกลุ่ม
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/926
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก545.02 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.25 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ41.35 kBAdobe PDFView/Open
Table content.pdfสารบัญ93.04 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1890.91 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 210.51 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3787.24 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 412.79 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 52.15 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม793.59 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก12.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.