Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/928
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเอกรินทร์, ตั้งนิธิบุญ-
dc.contributor.authorธิติมา, เกตุแก้ว-
dc.date.accessioned2018-02-20T09:35:40Z-
dc.date.available2018-02-20T09:35:40Z-
dc.date.issued2017-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/928-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาข้อมูลของทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเขตธนบุรี และเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตธนบุรี ในการกำหนดแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่ในการศึกษา คือ เขตธนบุรี ดำเนินเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อหาแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนรวมทั้งสำรวจภาคสนามเกี่ยวกับแหล่งศิลปวัฒนธรรมและโบราณสถาน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ฐานข้อมูลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเขตธนบุรี ประกอบด้วยทรัพยากรน้ำในเขตธนบุรี มีแหล่งน้ำ คือ คลอง ซึ่งมีจำนวน 72 คลอง โดยแบ่งความรับผิดชอบเป็น 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานเขตธนบุรี และสำนักการระบายน้ำ ผลการศึกษาคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเสื่อมโทรม ทรัพยากรดินของเขตธนบุรี มีพื้นที่ 8,661,000.00 ตารางเมตร มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน มากที่สุด คือ พื้นที่อยู่อาศัย คิดเป็นร้อยละ 44.48 คุณภาพอากาศในเขตพื้นที่ธนบุรี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป ปริมาณขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้ในพื้นที่เขตธนบุรี ในปี 2558-2559 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4,792.58 ตัน และแหล่งศิลปกรรมและโบราณสถาน ในพื้นที่เขตธนบุรี มี 40 แห่ง สำหรับการวิเคราะห์ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตธนบุรี ในการกำหนดแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พบว่า ทรัพยากรน้ำ จากการประเมินสภาพจากคุณภาพน้ำของคลองที่ทำการสุ่มตัวอย่างในพื้นที่เขตธนบุรี พบว่าอุณหภูมิของน้ำในคลอง และความเป็นกรด-ด่าง (pH) มีค่าอยู่ในเกณฑ์ของสถานภาพสมดุลและปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen) ของน้ำในคลองมีค่าอยู่ในเกณฑ์ของสถานภาพสมดุล ได้แก่ คลองบางสะแก คลองบางใส้ไก่ และคลองสำเหร่ ทรัพยากรดิน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยโดยเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เนื่องจากการมีการขยายตัวของชุมชน หมู่บ้าน และย่านการค้า คุณภาพมีค่าดัชนีคุณภาพอากาศในเขตธนบุรี มีค่า 20 ซึ่งหมายความว่ามีคุณภาพดี ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่เขตธนบุรี มีการเก็บขนโดยฝ่ายสำนักรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ทำหน้าที่จัดเก็บขยะมูลฝอย ดำเนินการเก็บขยะมูลฝอย ดำเนินการเก็บขยะมูลฝอยทุกวัน แหล่งศิลปกรรมและโบราณสถานในพื้นที่เขตธนบุรี อยู่ในสภาพความสมบูรณ์ และยังคงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และทั้ง 40 สถานที่เป็นแหล่งที่มีชื่อเสียง และจากการประชุมกลุ่มย่อย(Focus group) พบว่าแนวทางจัดการทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินการให้ความรู้ในเรื่องความสำคัญ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประชาสัมพันธ์โครงการอนุรักษ์ทระพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนรับทราบอยู่เสมอ การรณรงค์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น เพื่อให้เกิดการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectทรัพยากรธรรมชาติen_US
dc.subjectฝั่งธนบุรีen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการสำรวจและศึกษาทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตธนบุรี เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนen_US
dc.title.alternativeSurvey and study a natural resources and environmental capitals in Thon Buri district for Develop the potential of environmental sustainabilityen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก74.2 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ92.97 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ58.92 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ137.99 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1167.42 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2486.89 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3138.88 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 44.98 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5323.65 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม119.65 kBAdobe PDFView/Open
Appendix .pdfภาคผนวก174.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.