Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/938
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorประเสริฐ, ลาภวุฒิพจน์-
dc.contributor.authorLapwuthipoj, Prasert-
dc.date.accessioned2018-03-20T08:43:21Z-
dc.date.available2018-03-20T08:43:21Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/938-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับระบบโปรแกรมห้องสมุด KELC ของโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครู และนักเรียนเกี่ยวกับระบบโปรแกรมห้องสมุด KELC ของโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ (3) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการแก้ไขการใช้ระบบโปรแกรมห้องสมุด KELC ของโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูจำนวน 108 คน นักเรียนจำนวน 341 คนรวมทั้งหมด 449 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามได้แก่ครู และนักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบโปรแกรมห้องสมุด KELC อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน คือ ด้านการสืบค้นข้อมูลด้วยชื่อผู้แต่ง / นามปากกา ด้านการสืบค้นข้อมูลด้วยชื่อเรื่อง ด้านการสืบค้นข้อมูลด้วยหัวเรื่อง และด้านการใช้บริการสอบถาม เมื่อพิจารณาวิธีการสืบค้นข้อมูลรายด้านย่อย พบว่า ครูมีความคิดเห็นในการใช้การสืบค้นด้วยชื่อผู้แต่ง / นามปากกา มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการสืบค้นด้วย ชื่อเรื่อง ด้านการใช้บริการสอบถาม และด้านการสืบค้นด้วยหัวเรื่อง ตามลำดับ ในทางตรงกันข้ามนักเรียนมีความคิดเห็นในการใช้การสืบค้นข้อมูล ด้านการสืบค้นด้วยชื่อเรื่องมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านการสืบค้นด้วยหัวเรื่อง ด้านการใช้บริการสอบถาม และการสืบค้นด้วยชื่อผู้แต่ง / นามปากกา ตามลำดับ ผลการสมมติฐานมีดังนี้ โดยภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับระบบโปรแกรมห้องสมุด KELC ของโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ พบว่าทุกด้าน คือ ด้านการค้นหาด้วยชื่อผู้แต่ง / นามปากกา ด้านการค้นหาด้วยชื่อเรื่อง ด้านการค้นหาด้วยหัวเรื่อง และด้านการใช้บริการสอบถาม ไม่แตกต่างกัน จากผลของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พบว่า ระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามใน การสืบค้นหาหนังสือด้วยระบบโปรแกรมห้องสมุด KELC ทุกด้านอยู่ในระดับ มาก ครู และนักเรียนจึงเสนอแนะว่า ควรมีการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโปรแกรมห้องสมุด KELC ทุกๆ 3-5 ปี เพื่อให้ทันกับยุคสมัย และควรมีการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อนำผลสำรวจมาปรับปรุงการบริหารงานห้องสมุดของโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectระบบโปรแกรมห้องสมุด,ความคิดเห็นของครู,ความคิดเห็นของนักเรียน,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleความคิดเห็นของครู และนักเรียนเกี่ยวกับระบบโปรแกรมห้องสมุด KELC : กรณีศึกษาโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์en_US
dc.title.alternativeThe Opinion of Teachers and Students Towards KELC : A Case Study of Khemasirimemorial Schoolen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก526.8 kBAdobe PDFView/Open
Tltle 2.pdfหน้าอนุมัติ542.4 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ615.68 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ44.32 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ1.61 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.06 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 24.4 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 31.37 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 45.18 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 51.05 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.25 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก3.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.