Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/940
Title: ความเชื่อและพิธีกรรมของทหารเรือและประชาชนทั่วไปที่มีต่อพระอนุสาวรีย์พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
Other Titles: The Beliefs and the Ritual of the Soldiers of Royal Thai Navy and The People towards the Statue of His Royal Highness, Prince Chumporn
Authors: สมศรี, จีนสุข
Cheensuk, Somsri
Keywords: ความเชื่อและพิธีกรรม,ทหารเรือ,อนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2002
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความเชื่อ รูปแบบพิธีกรรมความหมายของสัญลักษณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม จุดมั่งหมาย สาเหตุของการมาสักการะพระอนุสาวรีย์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ที่มีความเกี่ยวข้อและสัมพันธ์กับทหารเรือและประชาชนทั่วไป โดยการใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถาม การเก็บข้อมูลได้จากทหารเรือและประชาชนที่มาประกอบพิธีกรรมบริเวณลานพระอนุสาวรีย์พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ที่ประดิษฐาน ณ ฐานทัพเรือกรุงเทพ วังนันทอุทยาน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำนวนทหารเรือ 200 นาย และประชาชน 200 คน สรุปผลการวิจัยดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะความเชื่อของทหารเรือและประชาชนทั่วไปที่มีต่อพระอนุสาวรีย์ฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความเชื่อของทหารเรือมีค่าเฉลี่ย = 3.62 ส่วนประชาชนมีค่าเฉลี่ย = 3.77 ทหารเรือและประชาชนมีค่าเฉลี่ยความเชื่อในการสร้างพระอนุสาวรีย์ฯ เป็นการแสดงความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อประองค์ในระดับมาก สำหรับความเชื่อของทหารเรือในเรื่องรูปแบบ พิธีกรรม และสัญลักษณ์ในวันอาภากร 19 พฤษภาคมทุกปี และวันสำคัญของทหารเรือไทย จุดมุ่งหมายของการมาสักการะพระอนุสาวรีย์ฯ เพื่อขอพรและความเป็นสิริมงคล เมื่อแสดงความเคารพพระอนุสาวรีย์ฯ แล้วรู้สึกสบายใจและนับถือพระองค์ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมไทย สาเหตุของการมาสักการะพระอนุสาวรีย์ฯ เชื่อว่าทหารเรือและประชาชนทั่วไปมาขอความมั่นใจในการดำเนินชีวิต คุ้มครองครอบครัวและญาติพี่น้อง ทำงานประสบความสำเร็จและเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมไทย จากการะเปรียบเทียบความเชื่อระหว่างทหารเรือและประชาชนทั่วไปโดยใช้ t-test และไคสแควร์ เป็นรายข้อพบว่ามีบางข้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสรุปดังนี้ 1. ทหารเรือมีความเชื่อเรื่องการสร้างพระอนุสาวรีย์ฯ “เสด็จเตี่ย” เป็นการแสดงความศรัทธาต่อพระองค์ และเชื่อว่า “เสด็จเตี่ย” ดลบันดาลให้มีความสุขสมหวังในชีวิตและมีสุขภาพพลานามัยดีมากกว่าประชาชน 2. รูปแบบพิธีกรรมและสัญลักษณ์ที่ใช้ในพิธีกรรม ประชาชนส่วนใหญ่มีความเชื่อเรื่องการนำดอกกุหลาบสีแดงมาสักการะพระอนุสาวรีย์ฯ มากกว่าทหารเรือ 3. จุดมุ่งหมายของการมาสักการะพระอนุสาวรีย์ฯ ประชาชนมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบแทน ขอบคุณและแก้บนมากกว่าทหารเรือ 4. สาเหตุความเชื่อของทหารเรือและประชาชนทั่วไปที่มาสักการะพระอนุสาวรีย์ฯ ประชาชนเชื่อว่า “เสด็จเตี่ย” ช่วยคุ้มครองครอบครัว ประสบความสำเร็จในด้านการงานละมั่นใจในการดำเนินชีวิตมากกว่าทหารเรือ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/940
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก550.68 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ580.73 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.8 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ778.71 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ2.63 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 13.3 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 220.36 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 31.39 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 45.5 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 52.04 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม955.21 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก12.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.