Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/959
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระมหาเมธา, คำไหล-
dc.contributor.authorKhamlai, Phramaha Metha-
dc.date.accessioned2018-04-05T05:44:07Z-
dc.date.available2018-04-05T05:44:07Z-
dc.date.issued2004-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/959-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการทำเครื่องทองลงหิน ของบ้านหนวงบัวน้อย ตำบลหนองบัวน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวคิดจากทฤษฎีทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เป็นแนวทางในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล กระบวนการวิจัยประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์กลุ่มประชาชนในพื้นที่บ้านหนองบัวน้อย จำนวน 20 คน โดยมีแนวคำถามเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมา คติความเชื่อ กระบวนการถ่ายทอดและพัฒนาการและการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาในการทำเครื่องทองลงหิน รวมถึงใช้ข้อมูลจากการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด มาประกอบก่อนที่จะสรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการทำเครื่องทองลงหิน เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะความชำนาญในการทำเครื่องทองลงหินให้สมาชิกในครอบครัวและเพื่อนบ้านใกล้เคียง โดยผู้ถ่ายทอด คือ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้มีความรู้และทักษะในงานนี้เป็นอย่างดี และทั้งหมดเป็นหัวหน้าครอบครัว ดังนั้น ผู้รับการถ่ายทอดจึงเป็นบุตรหลานหรือภรรยา รวมทั้งเพื่อนบ้านใกล้เคียง ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันของกลุ่มผู้ทำเครื่องทองลงหิน ที่อยู่ในชุมชนเดียวกัน ลักษณะเนื้อหาของกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญา ในการทำเครื่องทองลงหินครอบคลุมการจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการผลิตกระดิ่งทองลงหิน เครื่องมือที่ใช้ในการผลิตและกระบวนการผลิต ทุกขั้นตอน จนกระทั่งสำเร็จเป็นกระดิ่งโดยสมบูรณ์ สำหรับกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการทำเครื่องทองลงหินนั้น พบว่า ผู้ถ่ายทอดให้ผู้รับการถ่ายทอดซึ่งเป็นผู้ที่อยู่อาศัยภายในครอบครัวเดียวกันหรือเพื่อนบ้านในละแวกเดียวกันได้ดู ตัวอย่างของจริง ได้สัมผัสงาน เห็นแบบอย่างและสังเกตการปฏิบัติงานหรือสาธิตให้ดูของผู้ถ่ายทอดเป็นประจำในชีวิตประจำวันของผู้รับการถ่ายทอดจึงจดจำได้ มีการทำเลียนแบบ การฝึกฝนและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยการเรียนรู้จะเป็นการรับการถ่ายทอดที่เกิดจากการทำงานจริง เริ่มจากงานที่ง่ายไปสู่งานที่ยากตามลำดับ รวมทั้งการได้รับการบอกกล่าวและแนะนพจากผู้ที่ถ่ายทอดเพิ่มเติมอีก ทำให้เกิดความชำนาญและความสามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพดีเทียบเท่ากับผลงานของผู้ถ่ายทอด สื่อในการถ่ายทอดความรู้ ในการทำเครื่องทองลงหิน ได้แก่ สื่อของจริง ประกอบด้วยวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำกระดิ่งทองลงหิน เช่น ดินเหนียว ขี้วัวแห้ง กะละมัง น้ำ กระป๋อง ขี้ผึ้ง เครื่องกลึง ฯลฯ รวมถึงการใช้สื่อบุคล คือ ผู้ถ่ายทอดเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ วิธีการประเมินผลการถ่ายทอดความรู้ ใช้วิธีการสังเกต การสอบถาม การตรวจสอบ ตลอดจนการวิเคราะห์จุดดีและจุดเสียร่วมกันระหว่างผู้ถ่ายทอดและผู้รับการถ่ายทอด การประเมินกระบวนการทำงานและผลงาน จะดูจากชิ้นงานที่ทำเป็นหลัก เช่น ความประณีตสวยงาม ความไพเราะกังวานของเสียงกระดิ่งทองลงหินว่าเป็นไปตามที่ต้องการก็ถือว่ามีคุณภาพใช้ได้ แสดงถึงผู้รับการถ่ายทอดมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะความชำนาญและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องทุกขั้นตอนจนผู้ถ่ายทอดมั่นใจว่า ผู้รับความรู้จะสามารถถ่ายทอดให้แก่ช่างรุ่นต่อไปได้เป็นอย่างดีen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectภูมิปัญญาไทย,การทำเครื่องทองลงหิน,การถ่ายทอดภูมิปัญญา,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleการศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการทำเครื่องทองลงหิน บ้านหนองบัวน้อย ตำบลหนองบัวน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมาen_US
dc.title.alternativeA Study of Wisdom Transmission Process in Making Stone Bronze Ware Ban Nong Bua Noi, Nong Bua Noi Sub-district, Sikhiu district, Nakhonratchasima provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก524.01 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ549.34 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ185.62 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgment.pdfกิตติกรรมประกาศ40.28 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ70.6 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.15 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 27.33 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3690.07 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 411.62 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 56.03 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.62 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.