Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/963
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระธงชัย, สีโสภณ (ญาณธีโร)-
dc.contributor.authorSisophon (Yanadhilo), Phra Thongchai-
dc.date.accessioned2018-04-10T08:51:05Z-
dc.date.available2018-04-10T08:51:05Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/963-
dc.description.abstractตั้งแต่พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลมีผลบังคับใช้ ปี พ.ศ. 2538 การจัดทำแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลมีความสำคัญมากที่ต้องพึ่งเงินอุดหนุนจากรัฐบาล เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในการจัดทำแผนพัฒนาส่วนท้องถิ่นให้มีความเจริญ แผนพัฒนามี 2 ประเภท คือ แผนพัฒนาระยะ 5 ปี และแผนพัฒนาประจำปี แผนการพัฒนาตำบลเป็นการจัดทำแผนพัฒนาจากเบื้องล่าง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลส่วนกลางและครอบคลุมทุกแผนงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองฝ้ายศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนบ้านฝ้าย ที่ได้รับจากแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองฝ้าย ปี พ.ศ. 2545 เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตวิเคราะห์ ประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 105 คน นำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล แปรผล ใช้อัตราร้อยละ ผลของการศึกษา ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ได้รับจากแผนพัฒนาของ อบต.เมืองฝ้าย ในแต่ละด้าน ดังต่อไปนี้ 1. ด้านเศรษฐกิจ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้น้อย รายได้เสริมส่วนใหญ่เกิดจากภายในชุมชน การพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพน้อย กองทุนให้กู้ยืมเพื่อเกษตรกรรมไม่เพียงพอ การส่งเสริมเกษตรกรเรื่องทำไร่นาสวนผสมไม่เพียงพอ 2. ด้านสังคม พบว่า การจัดอบรมรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนยังมีน้อย การจัดอบรมเรื่องการต่อต้านยาเสพติด อยู่ในระดับปานกลาง การจัดกีฬาเป็นสื่อในการสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ทำให้เกิดประโยชน์มาก 3. ด้านการเมืองและการบริการ พบว่า ตั้งแต่สภาตำบลได้ยกฐานะเป็น อบต. ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับความรู้ ในเรื่องกิจกรรมทางการเมือง เช่น การเลือกตั้งประชาชนสนใจไปเลือกตั้งกันมาก การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ อยู่ในระดับปานกลาง 4. ด้านการศึกษา พบว่า การพัฒนาศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์เรื่องอาหารกลางวันและอาหารเสริมอยู่ในระดับปานกลาง การศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษายังไม่เพียงพอต่อความต้องการในเรื่องการจัดหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้านยังไม่เพียงพอ 5. ด้านศาสนาและวัฒนธรรม พบว่า กิจกรรมศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีได้ส่งเสริมมากในเรื่องการอบรมคุณธรรม จริยธรรมมีน้อย 6. ด้านสาธารณสุข พบว่า ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอดมีน้อย ในเรื่องการรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อและโรคฉี่หนู อยู่ในระดับปานกลาง การดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 4 ปีมีน้อย เรื่องการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ มีการรณรงค์น้อย การให้ความรู้เรื่องการใช้ยาและวัตถุมีพิษมีน้อย 7. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน พบว่า การซ่อมบำรุงถนนและการสร้างถนน ขยายไฟฟ้า อยู่ในระดับปานกลาง การขยายโทรศัพท์มีน้อย ในเรื่องน้ำบริโภคและน้ำประปามีเพียงพอ 8. ด้านแหล่งน้ำ พบว่า การดูแลแหล่งน้ำสาธารณที่ตื้นเขิน อยู่ในระดับปานกลาง ในเรื่องการขุดสระขนาดเล็กเพื่อใช้ในครัวเรือนมีน้อย 9. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า การรณรงค์รักษาความสะอาดแหล่งน้ำ อยู่ในระดับปานกลาง การปลูกป่าทดแทนได้ส่งเสริม การดูแลรักษาความสะอาดชุมชนมีน้อย 10. ด้านทัศนคติ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการจัดทำแผนพัฒนาน้อยตั้งแต่มีการจัดทำแผนพัฒนาทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ในเรื่องการประสานงานของ อบต. อยู่ในระดับปานกลาง ในอนาคต อบต. ไม่ควรยุบ 11. เป้าหมายการจัดทำแผนพัฒนาครั้งต่อไป กลุ่มผู้นำส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญด้านเศรษฐกิจมาเป็นอันดับแรก ส่วนประชาชนให้ความสำคัญด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นอันดับแรก ทัศนคติเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง และอนาคต อบต. ไม่ควรยุบ การจัดทำแผนพัฒนาครั้งต่อไปพบว่า ให้ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐาน ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานพัฒนาของ อบต. ควรจัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมทุกด้าน และทำตามความต้องการของประชาชน แผนพัฒนาจึงจะบรรลุวัตถุประสงค์ได้en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University Office of Academic Resources And Information Technologyen_US
dc.subjectแผนพัฒนาองค์กร,การบริหารองค์กร,องค์การบริหารส่วนตำบล,คุณภาพชีวิตชุมชน,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของชุมชน กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านฝ้าย ต.เมืองฝ้าย อ. หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์en_US
dc.title.alternativeThe Sub-district Administrative Organization Development Plan Effecting on Life Quality of Community : the Case Study of Ban Fai Community, Mueang Fai Sub-district, Nong Hong District, Buri Ram Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก1.08 MBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ563.2 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ983.82 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgment.pdfกิตติกรรมประกาศ590.46 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ617.4 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 17.62 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 25.67 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 32.13 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 44.77 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 54.29 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม2.23 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.