Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/977
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorณรงค์ฤทธิ์, ทองเสน-
dc.contributor.authorTongsan, Narongrit-
dc.date.accessioned2018-04-27T08:20:03Z-
dc.date.available2018-04-27T08:20:03Z-
dc.date.issued2003-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/977-
dc.description.abstractการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการปฏิบัติ หน้าที่ของกรรมการชุมชน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการชุมชน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยทำการสุ่มตัวอย่างจากกรรมการชุมชนทั้งหมด 505 คน ได้กลุ่มประชากรจำนวน 220 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยหา ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation) และChi?Square ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่หนึ่ง พบว่า ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ของกรรมการชุมชน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ที่อยู่ ในระดับสูง คือ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ประสานงาน และดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานราชการ องค์กร และหน่วยงานเอกชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน เสริมสร้างความสามัคคีและการมีวินัย ของผู้อยู่อาศัยในชุมชน ส่งเสริมวัฒนธรรม ศีลธรรม และประเพณีอันดีงาม พัฒนาชุมชนทั้งด้าน กายภาพ เศรษฐกิจและสังคม โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และระดมทรัพยากรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วน ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ที่อยู่ในระดับต่ำ คือ ดูแลรักษาทรัพย์สินของชุมชนและสาธารณสมบัติ เผยแพร่ผลงาน ติดตาม และรายงานการปฏิบัติงานของหน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ที่เข้าไปปฏิบัติงานในชุมชนต่อผู้อำนวยการเขต แต่งตั้งผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมเป็นที่ปรึกษาหรือคณะทำงานในฝ่ายต่างๆ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่สอง พบว่า ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจที่ต้องนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ คุณลักษณะของผู้นำชุมชน ความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ความมั่นคงในรายได้ และการสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการชุมชน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ กรุงเทพมหานคร ควรจัดให้มีการฝึกอบรม สัมมนา และศึกษาดูงาน เพื่อให้กรรมการชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ และมีการติดตามผลของการนำความรู้ไปใช้ และประเมินผลว่ามีความสอดคล้องกับความต้องการของกรรมการชุมชนหรือไม่ ซึ่งจะทำให้กิจกรรมที่จัดขึ้นมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ควรจัดกิจกรรมเสริมทักษะเกี่ยวกับ การประสานงาน และเสนอทางออกในการแก้ปัญหาของประชาชนในชุมชน มีความคิดริเริ่ม กล้าตัดสินใจ และเป็นผู้เอาการเอางาน ควรส่งเสริมอาชีพหรือเพิ่มค่าตอบแทนแก่กรรมการชุมชนให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพการทำงานในปัจจุบัน กรรมการชุมชนจะได้นำรายได้ไปสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ก่อให้เกิดความร่วมมือตั้งใจทำงานเพื่อชุมชน ควรพัฒนา ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการชุมชนโดยเน้นในเรื่อง การดูแลรักษาทรัพย์สิน ของชุมชนและสาธารณสมบัติ เผยแพร่ผลงานติดตามและรายงานการปฏิบัติงานของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่เข้าไปปฏิบัติงานในชุมชนต่อผู้อำนวยการเขต แต่งตั้งผู้มีความรู้ความสามารถ เหมาะสมเป็นที่ปรึกษาหรือคณะทำงานในฝ่ายต่างๆen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectการปฏิบัติหน้าที่,กรรมการชุมชน,บางกอกน้อย,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการชุมชนเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก538.32 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ556.02 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.35 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgament.pdfกิติกรรมประกาศ58.44 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ2.23 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.92 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 26.18 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 31.54 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 411.37 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 53.35 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม965.75 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.