Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/998
Title: ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) : กรณีศึกษาชุมชนบ้านดัง เทศบาลเมืองพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Facilitating factors and restraining factors toward the implementation of village / community capability development project (SML) : A case study of Bandung Community, Muang Prapradaeng Municipality, Prapradaeng District, Samutprakarn Province.
Authors: อรรถพล, กสิรัต
Kasirata, Ataphol
Keywords: โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชน,สมุปราการ,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2007
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (เอสเอ็มแอล) ของชุมชนบ้านดัง โดยศึกษาจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 คน และบุคคลที่เกี่ยวข้องอีก 15 คน เก็บรวบรวมด้วยวิธีการสัมภาษณ์เป็นวิธีการหลัก และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการดำเนินการโครงการ (เอสเอ็มแอล) ประกอบด้วย 3 กลุ่มปัจจัย คือ กลุ่มปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมซึ่งมีปัจจัยที่ส่งเสริมคือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ส่วนในกลุ่มปัจจัยเกี่ยวกับชุมชนมีปัจจัยที่ส่งเสริมคือ ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ประชาชนตระหนักถึงปัญหาที่ต้องการแก้ไข ประชาชนตั้งใจในการพัฒนาชุมชน ผู้นำชุมชนให้ความร่วมมือ ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ และ คณะทำงานมีความเสียสละ ส่วนในกลุ่มปัจจัยเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีปัจจัยที่ส่งเสริม คือ เทศบาลเมืองพระประแดงให้ความช่วยเหลือ เทศบาลประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ ผู้บริหารท้องถิ่นให้ความร่วมมือในการจัดตั้ง เทศบาลมีความสัมพันธ์กับชุมชนเป็นอย่างดี และเทศบาลช่วยเหลือในการออกแบบแปลนต่าง ในส่วนของปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการโครงการ (เอสเอ็มแอล) ประกอบด้วย 3 กลุ่มปัจจัย คือ กลุ่มปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม มีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคคือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม ส่วนใหญ่กลุ่มปัจจัยเกี่ยวกับชุมชนมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคคือประชาชนไม่ต้องการรับผิดชอบหน้าที่ต่างๆ ประชาชนไม่เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริง ชุมชนไม่มีผู้ที่มีความรู้ในบางด้าน และ การเป็นชุมชนต้นแบบไม่มีชุมชนในพื้นที่ให้ศึกษา ส่วนในกลุ่มปัจจัยเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคคือ โครงการต่อๆ ไปไม่มีงบประมาณในการจัดตั้งโครงการ (เอสเอ็มแอล) และภาครัฐไม่มีการแนะนำขั้นตอนในการดำเนินงาน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/998
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก583.23 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ562.72 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ771.16 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ606.36 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.58 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 14.11 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 28.25 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 32.41 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 49.37 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 58.86 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม781.99 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก19.9 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.