Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1001
Title: ความคิดเห็นของพนักงานไปรษณีย์ต่อการแปรรูปกิจการไปรษณีย์
Other Titles: Opinions of Postal Officers Towards The Postal Privatization
Authors: ประสาร, ฤทธิ์มนตรี
Rithemontree, Prasarn
Keywords: ไปรษณีย์,ความคิดเห็น,พนักงานไปรษณีย์,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2002
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยเรื่อง "ความคิดเห็นของพนักงานไปรษณีย์ต่อการแปรรูปกิจการไปรษณีย์" มีวัตถุประสงค์ ก) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพนักงานไปรษณีย์ต่อการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ในด้านหลักการ ซึ่งแบ่งออกเป็น ด้านความมั่นคง ด้านความเสมอภาค ด้านความพร้อมและประสิทธิภาพของภาคเอกชน ข) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพนักงานไปรษณีย์ต่อรูปแบบ และวิธีการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ ค) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลของพนักงานไปรษณีย์กับความคิดเห็นต่อหลักการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ การสุ่มตัวอย่างจำนวน 395 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลพนักงานไปรษณีย์โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบไค-สแควร์ และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นต่อการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ในระดับปานกลาง โดยมีระดับความคิดเห็นสูงสุดต่อการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ในด้านความพร้อมและประสิทธิภาพของภาคเอกชน รองลงมาในด้านความเสมอภาค และในด้านความมั่นคงตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่ารูปแบบการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ที่เหมาะสมที่สุดควรเป็นการเสนอขายหุ้นให้ต่อสาธารณชน และการเสนอขายหุ้นให้แก่พันธมิตรร่วมทุนโดยเฉพาะ ส่วนวิธีการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ที่เหมาะสมที่สุดคือรัฐบาลถือหุ้นส่วนหนึ่งไว้ และนำหุ้นบางส่วนจำหน่ายแก่มหาชน โดยผ่านกลไกของตลาดหลักทรัพย์ และนำหุ้นส่วนบางส่วนจำหน่ายแก่พนักงานด้วย ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า เพศ มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อหลักการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ในด้านความมั่นคง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อหลักการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ในด้านความเสมอภาคและในด้านความพร้อมและประสิทธิภาพของภาคเอกชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวกับความคิดเห็นต่อหลักการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับกิจการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ ข้อเสนอแนะ คือ หน่วยงานของรัฐบาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ควรมีการให้ความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานไปรษณีย์ โดยนำเสนอให้ชัดเจนในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคง ด้านความเสมอภาค ด้านความพร้อม และประสิทธิภาพของภาคเอกชน เป็นต้น เพื่อให้ข้อพิจารณาในด้านข้อดี ข้อเสียในการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ และจะทำให้พนักงานไปรษณีย์เองได้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ต่อไป นอกจากนั้นรัฐบาลควรกำหนดรูปแบบ และวิธีการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ เพื่อมิให้ต่างชาติเข้ามาครอบงำกิจการได้ ในการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาความคิดเห็นของพนักงานไปรษณีย์ต่อการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ในทุกภาคของประเทศ และรัฐบาลควรแสดงความจริงใจโดยการจัดงบประมาณให้พนักงานไปรษณีย์ทั่วประเทศ ได้มีการประพิจารณ์แสดงความคิดเห็นต่อการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ ควรมีการศึกษาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลดี ผลเสียของการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ โดยสอบถามความคิดเห็นของพนักงานไปรษณีย์ และประชาชนผู้รับบริการ ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติต่อการแปรรูปกิจการไปรษณีย์ ระหว่างพนักงานไปรษณีย์กับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแปรรูปกิจการไปรษณีย์และประชาชนผู้รับบริการ เพื่อจะได้เห็นความสอดคล้องและแตกต่างอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1001
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก525.53 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ551.11 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.46 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ42.72 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ2.17 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 15.77 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 230.31 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 33.93 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 49 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 52.46 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.67 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก5.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.