Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1048
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรพจน์, สิงหราช-
dc.contributor.authorSingharach, Worapote-
dc.date.accessioned2018-08-21T08:57:39Z-
dc.date.available2018-08-21T08:57:39Z-
dc.date.issued2005-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1048-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรระหว่างปัจจัยจูงใจ - ค้ำจุนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปรา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก 22 โรงเรียน จำนวน 103 คน และโรงเรียนขนาดใหญ่ 12 โรงเรียน จำนวน 214 คน รวมทั้งสิ้น 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 และแบบวัดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยจูงใจ-ค้ำจุนของข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่อยู่ในระดับมาก (2) โรงเรียนขนาดเล็กมีปัจจัยจูงใจด้านความรับผิดชอบ ด้านความสำเร็จในการทำงาน และด้านการยอมรับนับถือสูงสุดตามลำดับ ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่มีปัจจัยยูงใจด้านความรับผิดชอบ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติสูงสุดตามลำดับและโรงเรียนขนาดเล็กมีปัจจัยค้ำจุนด้านสถานะทางอาชีพ ด้านความมั่นคงในงาน และด้านความสัมพันธ์กับบุคลในหน่วยงานสูงสุดตามลำดับ ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่มีปัจจัยค้ำจุนด้านสถานะทางอาชีพ ด้านความเป็นอยู่ส้วนตัว และด้านความสัมพันธ์กับชุมชนตามลำดับ (3) โรงเรียนขนาดเล็กปละโรงเรียนขนาดใหญ่มีปัจจัยจูงใจ-ค้ำจุน ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยจูงใจด้านการยอมรับนับถือ และด้านความก้าวหน้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยค้ำจุนด้านความมั่นคงในงาน ด้านการประกันคุณภาพทางการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และด้านชุมชนที่ตั้งของโรงเรียนก้าวหน้าขยายตัวและสงบสุข แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขนาดใหญ่ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดเล็กด้านความสุขในการทำงาน ด้านความมีศักดิ์ศรีของความเป็นครู และด้านการมีโอกาสช่วยเหลือนักเรียนสูงสุดตามลำดับ ส่วนแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดใหญ่ด้านความมีศักดิ์ศรีของคาวมเป็นครู ด้านความสุขในการทำงาน และด้านการมีโอกาสช่วยเหลือนักเรียนสูงสุดตามลำดับ (5) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่ไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านการมีความพยายามไปสู่สถานะที่สูงขึ้นแตกต่างขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสิติที่ระดับ .05 (6) ปัจจัยจูงใจ-ค้ำจุนมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในโงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่ในเชิงบวกโดยโรงเรียนขนาดเล็กมีค่าประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .721 และโรงเรียนขนาดใหญ่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .676 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.en_US
dc.subjectแรงจูงใจ,ข้าราชการครู,การปฏิบัติงาน,สมุทรปราการ,วิทยานิพนธ์en_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1en_US
dc.title.alternativeFACTORS EFFECTING MOTIVATION FOR WORK OF TEACHERS IN SAMUTPRAKARN EDUCATION REGIONAL OFFICE REGION 1en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก583.97 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ538.02 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ161.52 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ700.29 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ106.76 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.84 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 25.36 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3222.5 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 43.09 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 53.43 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.39 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก6.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.