Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1222
Title: การออกแบบและพัฒนาระบบเติมอากาศสำหรับบ่อกุ้งโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ กรณีศึกษาปัญหาน้ำเสียในบ่อกุ้งของเกษตรชุมชนบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Aeration system for the design and development of shrimp ponds using solar energy : A case study of waste water in the ponds of the Bangpla Bangphli Samutprakan
Authors: อัครกิตติ์, ไชยธนกุลวัฒน์
Chaithanakulwat, Arckarakit
Keywords: ระบบเติมอากาศ
บ่อกุ้ง
พลังงานแสงอาทิตย์
งานวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2014
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)เพื่อศึกษาตัวแปรต่างๆที่เกี่ยวข้องในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้สำหรับเครื่องเติมอากาศเพื่อการหมุนเวียนน้ำในบ่อกุ้งของเกษตรกรในชุมชนบางปลาประกอบด้วย (1.1)สมบัติทางไฟฟ้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงค่าความเข้มแสง (1.2)การตรวจจับสัญญาณแรงดันและวงจรตรวจจับสัญญาณกระแส (1.3)การทดลองสัญญาณการทำงานของวงจรควบคุม (1.4)การประจุแบตเตอรี่ของเซลล์แสงอาทิตย์ (2)เพื่อพัฒนาระบบเติมอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนการใช้กังหันแบบตีน้ำที่เกษตรกรใช้อยู่เดิม (3)เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของเกษตรกรที่ใช้ระบบเติมอากาศแบบปั๊มให้เกิดฟองอากาศกับระบบเติมอากาศแบบตีน้ำสำหรับการหมุนเวียนน้ำในบ่อกุ้ง ผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ได้พัฒนาการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้สำหรับเครื่องเติมอากาศเพื่อการหมุนเวียนน้ำในบ่อกุ้งของเกษตรกร ซึ่งสามารถพิจารณาจากผลการทดสอบที่แสดงถึงประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ โดยเริ่มจากการออกแบบวงจรตรวจจับกระแสและแรงดันเพื่อควบคุมพลังงานที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ให้คงที่ การออกแบบวงจรเก็บประจุและทดสอบการเก็บประจุสู่แบตเตอรี ซึ่งสามารถจัดเก็บกำลังไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้สูงสุด 37.79 W. เป็นผลมาจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้รับค่าความเข้มของแสงอาทิตย์สูงที่สุด และสามารถถหาค่ากำลังไฟฟ้ารวมเฉลี่ยได้ 30.85 W. เมื่อนำมาติดตั้งร่วมกับเครื่องเติมอากาศที่สร้างขึ้นเปรียบเทียบกับการเติมอากาศแบบใช้กังหันตีน้ำที่เกษตรกรใช้อยู่เดิม ทำให้ระดับออกซิเจนละลายน้ำ (ppm) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วงมาตรฐานเท่ากับ 7.48 ppm และมีอุณหภูมิอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมตามมาตรฐานของอุณหภูมิในบ่อเลี้ยงกุ้งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 30.33 องศาเซลเซียส ผลการวิจัยด้านความพึงพอใจของเกษตรกรจากการใช้งานเครื่องเติมอากาศ จากประชากรที่ศึกษาจำนวน 50 ครัวเรือน โดยวิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทางสถิติแบบที พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจมากที่สุดในส่วนลดขั้นตอนและระยะเวลาการติดตั้ง และมีความพึงพอใจอยู่ในน้อยที่สุด คือ ความเหมาะสมของรูปแบบการติดตั้ง เปรียบเทียบกับความพึงพอใจที่มีต่อประสิทธิภาพและสมรรถนะของการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้สำหรับเครื่องเติมอากาศเพื่อการหมุนเวียนน้ำในบ่อกุ้งของเกษตรกรมากกว่าการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้สำหรับกังหันตีน้ำ พบว่ามีความพึงพอใจต่อประสิทธิภาพและสมรรถนะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในส่วนของการลดขั้นตอนและระยะเวลาการติดตั้ง
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1222
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TItle.pdfปก588.28 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ152.61 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ525.47 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ763.74 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1925.15 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 28.65 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 31.47 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.41 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5355.4 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม141.18 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.