Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1627
Title: การพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา
Other Titles: The Development of 21st Century Leadership Skills of School Administrators under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office
Authors: อรสา, มาสิงห์
Masing, Orasa
Keywords: ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21
ทักษะการสื่อสาร
ภาวะผู้นำ
ทักษะการจูงใจ
ผู้บริหารสถานศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: Jul-2019
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Journal Project.
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา 2) สร้างแนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 365 คน และหัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ 365 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi stage random sampling) และกลุ่มที่ทดลองใช้แนวทางการพัฒนาที่สร้างขึ้น ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา หนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 15 คน ซึ่งมีสถานศึกษาทั้งหมด 15 สถานศึกษา ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา มีระดับการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะมนุษยสัมพันธ์ ทักษะการวางแผน ทักษะการสร้างทีมงาน และทักษะการแก้ปัญหา ทักษะที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มี 2 ทักษะ คือ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการจูงใจ ส่วนความต้องการพัฒนาทักษะการสื่อสารและทักษะการจูงใจมากที่สุดเป็นสองอันดับแรก 2) แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารและทักษะการจูงใจ ของผู้บริหารสถานศึกษา ใช้วิธีการพัฒนาด้วยตนเอง และ 3) การประเมินแนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารและทักษะการจูงใจ ของผู้บริหารสถานศึกษาจากการทดลองใช้แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารและทักษะการจูงใจ ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน พบว่า มีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1627
https://research.dru.ac.th/o-journal/index.php?url=abstract.php&abs_id=594&jn_id=31
Appears in Collections:Article Dhonburi Rajabhat University - บทความ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.