Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1690
Title: การพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเขตธนบุรี
Other Titles: A Development of Local Wisdom Learning Resources Administrative Management based on the Sufficiency Economy Philosophy Principle in Dhonburi District Community
Authors: นงเยาว์, อุทุมพร
Utoomporn, Nongyao
Keywords: เศรษฐกิจพอเพียง
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
แหล่งเรียนรู้
ธนบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Issue Date: 2015
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Research and Development Institute.
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในชุมชนเขตธนบุรี 2)สภาพและปัญหาการใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เอื้อต่อการศึกษาของสถานศึกษาในเขตธนบุรี 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เขตธนบุรี กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่นเขตธนบุรีที่ดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 44 คน ผู้บริหารเขตธนบุรี ผู้นำชุมชนจำนวน 40 คน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ศึกษานิเทศก์ในเขตธนบุรี จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแนวคำถามสำหรับสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นเขตธนบุรีส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 61 ปี ขึ้นไปจบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำ กว่า อาศัยอยู่ในแขวงบางยี่เรือมากที่สุด ผลงานส่วนใหญ่เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือและมีความเก่าแก่สืบทอดมารุ่นต่อรุ่น กระบวนการเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์มีลักษณะที่แตกต่างกันคือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การสืบทอดจากบรรพบุรุษ การเรียนรู้จากครูอาจารย์ และการรับการฝึกอบรม สำหรับกรรมวิธีในการผลิตก็จะไม่ซับซ้อนเน้นการผลิตที่ทำกันได้ง่ายและใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น 2) สภาพการนำภูมิปัญญามาใช้ มีทั้งการเชิญไปสอนที่สถานศึกษาและพานักเรียนไปศึกษาเรียนรู้ที่บ้านของผู้ทรงภูมิปัญญา และมีหลากหลายกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เชิญไปสอน ทั้งในและนอกเวลาเรียน ปัญหาที่พบคือ การขาดงบประมาณสนับสนุนการย้ายภูมิลำเนาหรือปิดกิจการของผู้ทรงภูมิปัญญา การประสานงาน 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการ คือ ควรมีหน่วยงานหลักรับผิดชอบในการจัดรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยเชิญผู้เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกัน โดยทำเป็นทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่นเขตธนบุรี มีการจัดการความรู้และจัดทำ เป็นหนังสือหรือเอกสาร หรือซีดี แจก การเผยแพร่ข้อมูลในรูปของเว็บไซต์โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบ พร้อมทั้งมีการฝึ กอบรมนักเรียน/นักศึกษาเป็นมัคคุเทศก์แนะนำ การจัดเป็นงานนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่นในทุกปี หรือทุกภาคเรียนร่วมกัน และผู้บริหารสถานศึกษาควรมีนโยบายส่งเสริมหลักสูตรท้องถิ่นในสถานศึกษาอย่างจริงจัง และ การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ในสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1690
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title.pdfปก167.8 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ209.84 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ100.14 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ464.85 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1281.59 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2938.26 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3230.04 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4691.29 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5485.26 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม282.18 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก11.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.