Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/224
Title: ระดับอุปสรรคและระดับการส่งเสริมของปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้ของครูมัธยมศึกษาจังหวัดนครนายก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7
Other Titles: The Obstacle Level and the Supporting Level of Information Technology and Communication Factors in Learning Management of Secondary School Teachers in Nakhon Nayok Province under the District Office of Secondary Education Area 7
Authors: ไชยเชตุ, เอี่ยมอาจหาญ
Eam-artharn, Chaiyachet
Keywords: สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2011
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับอุปสรรคและระดับการส่งเสริม ของปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้ของครูมัธยมศึกษา จังหวัดนครนายก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 ใน 8 ด้าน ได้แก่ ด้านบริหารจัดการ ICT เพื่อการเรียนรู้ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านผู้เรียน ด้านครูผู้สอน ด้านผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านงบประมาณ และด้านสภาพสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 242 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับอุปสรรคของปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้ของครูมัธยมศึกษา จังหวัดนครนายก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ได้แก่ ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านครูผู้สอน ด้านบริหารจัดการ ICT เพื่อการเรียนรู้ ด้านงบประมาณ และด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ อยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านผู้เรียนและด้านวัสดุอุปกรณ์ ระดับการส่งเสริมของปัจจัยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดการเรียนรู้ของครูมัธยมศึกษา จังหวัดนครนายก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7 ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านผู้ดูแลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านงบประมาณ ด้านครูผู้สอน และด้านบริหารจัดการ ICT เพื่อการเรียนรู้
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/224
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก628.36 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ347.27 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ852.46 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ391.46 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ453.41 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 11.7 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 210.04 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3531.97 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 41.96 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 56.75 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม205.54 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.