Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/338
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนลินทิพย์, ตระกลพัฑฒนะ-
dc.contributor.authorTrakolpattana, Nalinthip-
dc.date.accessioned2017-08-17T07:01:07Z-
dc.date.available2017-08-17T07:01:07Z-
dc.date.issued2012-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/338-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. จำแนกตาม เพศ อายุ ตำแหน่งในการบริหารโรงเรียน ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 153 คน กำหนดขนาดจากตารางเคร็จซี่และมอร์แกน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .973 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างการหาค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัย พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติที่มีต่อการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านภาพลักษณ์ของ สมศ. ตามค่านิยมหลักด้านคุณภาพผู้ประเมินภายนอกของ สมศ. และด้านตัวบ่งชี้และเกณฑ์การพิจารณาเพื่อประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม อยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการเปรียบเทียบพบว่าผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านภาพลักษณ์ของ สมศ. ตามค่านิยมหลัก และด้านคุณภาพผู้ประเมินภายนอกของ สมศ. แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบสถานภาพของผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติที่มีอายุ มีตำแหน่งในการบริหารโรงเรียน มีระดับการศึกษาและมีประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ทั้งในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะของผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติที่มีต่อการประเมินคุณภาพภายนอกเสนอแนะว่า สมศ. ควรมีบทบาทเท่าเทียมกับองค์กรรับรองมาตรฐานต่างประเทศ ผู้ประเมินควรมีความรู้ความเข้าใจระบบการเรียนการสอนและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ นอกจากนี้แล้วตัวบ่งชี้และเกณฑ์การพิจารณาควรเป็นเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะของโรงเรียนนานาชาติ และโรงเรียนควรได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. ก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปีการศึกษาen_US
dc.language.isootheren_US
dc.subjectประกันคุณภาพการศึกษา - วิจัยen_US
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียน - วิจัยen_US
dc.titleความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ.en_US
dc.title.alternativeThe Opinions of the International School Administratiors in Bangkok towards External Quality Assessment of ONESQAen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก358.95 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ354.27 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ546.94 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ37.19 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ1.11 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 1693.21 kBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 214.15 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 31.71 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 46.36 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 51.88 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม1.22 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.