Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/421
Title: การบริหารงานวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนเพื่อการประกันคุณภาพภายใน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
Other Titles: The Administration for Internal Quality Assurance of Private Vocational Colleges under The Office of The Private Education Commission (OPEC), Bangkok Educational Service Area Office 2
Authors: กานต์นภัส, บุญลึก
Boonluek, Karnnaphat
Keywords: การบริหารการศึกษา
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน - การบริหาร
Issue Date: 2013
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพการบริหารงานวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนเพื่อการประกันคุณภาพภายใน 2)เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนเพื่อการประกันคุณภาพภายใน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา 3)ศึกษาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารงานวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนเพื่อการประกันคุณภาพภายใน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารจำนวน 14 คน ครูจำนวน 302 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่น .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1)การบริหารงานวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนเพื่อการประกันคุณภาพภายในโดยรวมและเป็นรายมาตรฐานทั้ง 7 ด้านได้แก่ (1)ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษา (2)ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา (3)ด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา (4)ด้านการบริการวิชาการและวิชาชีพ (5)ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์งานสร้างสรรค์หรืองานวิจัย (6)ด้านการปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก (7)ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก 2)เปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนเพื่อการประกันคุณภาพภายในระหว่างวิทยาลัยขนาดเล็กและขนาดกลาง กับวิทยาลัยขนาดใหญ่ภาพรวมและเป็นรายมาตรฐาน 7 ด้านไม่แตกต่างกัน 3)อุปสรรคในการบริหารงาน เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ (1)ครูไม่มีแรงจูงใจและไม่เห็นความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย ขาดแคลนงบประมาณและได้เสนอแนวทางแก้ไขคือให้สถานศึกษาสร้างแรงจูฝใจให้ครูสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ หรืองานวิจัย และระดมทรัพยากรทางการศึกษาจากชุมชน/จัดงบประมาณสนับสนุนให้เพียงพบ (2) ครูในสถาณศึกษามีจำนวนน้อย แต่มีภาระงานมากจึงไม่มีเวลาที่จะสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์หรืองานวิจัย และได้เสนอแนวทางแก้ไข คือรับจำนวนครูเพิ่มให้เพียงพอ เพื่อลดภาระงานและให้ครูมีเวลาในการสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์หรืองานวิจัย
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/421
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก352.93 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ342.76 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ491.13 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ344.3 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ1.07 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 11.91 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 212.99 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3897.12 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 46.17 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 54.82 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม824.86 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.