Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/423
Title: แรงจูงใจและผลของพฤติกรรมการงดเหล้าในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา : กรณีศึกษากลุ่มประชาชนในตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: Motivation and Its Results in Stopping Alcohol Drinking during Kaopansa Period: A Case Study of a Group of People in Bangpoomai Subdistrict, Mueang Samutprakan District, Samutprakan Province
Authors: ประมวล, เพ็งโต
Pengto, Pramuan
Keywords: เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การจูงใจ (จิตวิทยา)
การส่งเสริมสุขภาพ
Issue Date: 2013
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจของพฤติกรรมงดเหล้าในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของประชาชนกลุ่มหนึ่งในตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาผลของพฤติกรรมงดเหล้าในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และ 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมงดเหล้าในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ประชาชนกลุ่มหนึ่งที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 30 คน ที่มีพฤติกรรมดื่มเหล้าเป็นประจำในเวลาปกติ แต่ให้งดดื่มเหล้าในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบการสัมภาษณ์รายบุคคล แบบสัมภาษณ์ประกอบการสนทนากลุ่ม แบบสังเกต และอุปกรณ์บันทึกเสียงและบันทึกภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วจัดหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นระบบก่อนตีความและสรุปสาระสำคัญ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์แบบสามเส้า เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตรงกันของข้อมูลจากแหล่างต่างๆ สุดท้ายทำการสังเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลตามระบบเหตุผลและลำดับเหตุการณ์ และนำเสนอผลการวิจัยในเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัย พบว่า 1) แรงจูงใจของพฤติกรรมงดเหล้าในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของประชาชนกลุ่มหนึ่งในตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นผลมาจากปัจจัยสำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ ด้านแรกคือ ปัจจัยด้านจิตลักษณะ ประกอบด้วย การรับรู้พิษภัยของเหล้าและความต้องการมีสุขภาพดี เจตคติและความเชื่อทางศาสนา และการมุ่งควบคุมตนเอง ส่วนด้านที่สอง ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การขอร้องของบุคคลในครอบครัว โครงการรณรงค์งดดื่มเหล้าของรัฐบาล และการชักชวนของเพื่อนบ้านหรือเพื่อนร่วมงาน 2) ผลของพฤติกรรมงดเหล้าในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของประชาชนกลุ่มดังกล่าวได้แก่ สุขภาพอนามัยดีขึ้น ค่าใช้จ่ายในครอบครัวลดลง ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและทางสังคมดีขึ้น อุบัติเหตุการจราจรหรืออุบัติเหตุต่างๆ ของผู้ให้ข้อมูลลดลง และการลดลงของปริมาณการดื่มเหล้า 3) แนวทางส่งเสริมพฤติกรรมงดเหล้าได้แก่ ควรมีการโฆษณารณรงค์งดเหล้าอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 3 เดือนของเทศกาลเข้าพรรษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเผยแพร่ข้อมูลพิษภัยของเหล้า และสารเสพติดเพิ่มขึ้น ผู้นำชุมชนควรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ควรสนับสนุนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ และควรส่งเสริมขวัญกำลังใจของบุคคลที่งดเหล้าได้
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/423
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก394.81 kBAdobe PDFView/Open
title 2.pdfหน้าอนุมัติ392.81 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ1.22 MBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ501.75 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ2.58 MBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 13.2 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 224.85 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 31.45 MBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 47.33 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 58.41 MBAdobe PDFView/Open
unit 6.pdfบทที่ 66.65 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม1.55 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก894.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.