Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/477
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิยนุช, ทองทั่ว-
dc.contributor.authorThongtua, Piyanuch-
dc.date.accessioned2017-08-23T07:38:20Z-
dc.date.available2017-08-23T07:38:20Z-
dc.date.issued2009-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/477-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองนักเรียนไทยในการส่งบุตร หลานเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติหลักสูตรประเทศอังกฤษระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร เพื่อ เปรียบเทียบปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองนักเรียนไทยในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน ในโรงเรียนนานาชาติ หลักสูตรประเทศอังกฤษระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามภูมิหลังของผู้ปกครอง และเพื่อ ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ปกครองนักเรียนในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติ หลักสูตร ประเทศอังกฤษ ระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างซึ่ง ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน คือ ผู้ปกครองที่เป็นคนไทยที่บุตรหลานกำลังศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ จำนวน 302 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เปรียบเทียบค่าความแตกต่างโดยใช้การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ ทดสอบรายคู่ด้วยวิธี Dunnett’s T3 และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอเป็นความ เรียง ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียน นานาชาติหลักสูตรประเทศอังกฤษ ระดับประถมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ของผู้ปกครองนักเรียนไทย เมื่อ พิจารณารายด้าน พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนไทยมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และด้านที่มี ระดับความคิดเห็นมากที่สุดเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านอาคารสถานที่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและ บริการ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากรของโรงเรียน และด้านค่าธรรมเนียมการเรียน (2) ผู้ปกครองนักเรียนไทยที่สำเร็จ การศึกษาจากสถาบันต่างประเทศจะมีระดับความคิดเห็นสูงกว่าผู้ปกครองนักเรียนไทยที่สำเร็จการศึกษาจาก สถาบันในประเทศ และความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ผู้ปกครองนักเรียนไทยที่มี วุฒิทางการศึกษาต่างกันมีระดับความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ผู้ปกครอง นักเรียนที่มีรายได้รวมต่อเดือนต่างกันมีระดับความคิดเห็น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) ผู้ปกครองนักเรียนไทยที่รู้จักโรงเรียนจากแหล่งข้อมูลต่างกันมีระดับความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 และปัญหาตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่า โดยส่วนใหญ่โรงเรียนนานาชาติมีอัตรา ค่าธรรมเนียมค่อนข้างสูง และมีข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการควบคุมอัตราการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการเรียนen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technologyen_US
dc.subjectวิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectการแนะแนวการศึกษา - วิจัยen_US
dc.subjectโรงเรียน - การบริหารen_US
dc.subjectผู้ปกครองกับเด็ก - ทัศนคติen_US
dc.subjectผู้ปกครองกับเด็ก - วิจัยen_US
dc.subjectการส่งลูกเข้าเรียนen_US
dc.titleปัจจัยการตัดสินใจของผู้ปกครองนักเรียนไทยในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติหลักสูตรประเทศอังกฤษ ระดับประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeFactors Affecting Thai Parents’ Decisions on Sending their Primary Aged Children to a British Curriculum International School in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก119.9 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ89.33 kBAdobe PDFView/Open
Abstract .pdfบทคัดย่อ129.27 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ116.49 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ233.64 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1172.76 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2593.67 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3160.65 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4525.18 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 5355.64 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม320.41 kBAdobe PDFView/Open
Appendix .pdfภาคผนวก451.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.