Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/486
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุนันทา, แก้วสุข-
dc.contributor.authorKaewsuk, Sunanta-
dc.date.accessioned2017-08-23T11:44:37Z-
dc.date.available2017-08-23T11:44:37Z-
dc.date.issued2013-
dc.identifier.urihttp://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/486-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาไทยพุทธกับนักศึกษาไทยมุสลิม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เพื่อศึกษาการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาไทยพุทธ กับนักศึกษาไทยมุสลิม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาไทยพุทธ กับนักศึกษาไทยมุสลิม มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไข วิธีการวิจัยเป็นแบบผสมโดยเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ปีการศึกษา 2555 จำนวน 519 คน เป็นนักศึกษาไทยพุทธ จำนวน 382 คน นักศึกษาไทยมุสลิม จำนวน 137 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกนักศึกษาไทยพุทธและนักศึกษไทยมุสลิมที่ศึกษาในปีการศึกษา 2555 จำนวน 20 คน และผู้ปกครองของนักศึกษา จำนวน 5 คน รวมจำนวน 25 คน การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ กลุ่มตัวอย่างที่จะทำการสนทนากลุ่ม ได้แก่ นักศึกษาไทยพุทธกับนักศึกษาไทยมุสลิมที่ศึกษาในปีการศึกษา 2555 จำนวน 22 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน รวมจำนวน 25 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญระบุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถาม ฉบับที่ 2 และ 3 เป็นแนวคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์นักศึกษาและผู้ปกครองของนักศึกษา ฉบับที่ 4 แนวคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยแจกแบบสอบถาม ฉบับที่ 1 ให้นักศึกษาตอบ จำนวน 519 คน ทำการสัมภาษณ์นักศึกษาและผู้ปกครอง จำนวน 20 คน และจัดประชุมสนทนากลุ่มนักศึกษาและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ นำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำค่าเฉลี่ยที่ได้ไปเทียบกับเกณฑ์การประเมิน และการทดสอบค่าที และข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหาตามหลักการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของนักศึกษาโดยรวม นักศึกษาไทยพุทธ และนักศึกษาไทยมุสลิมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาคุณภาพชีวิตเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านโดยด้านจิตใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในทุกกลุ่ม รองลงไป คือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมในทุกกลุ่ม ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของนักศึกษาไทยพุทธ กับนักศึกษาไทยมุสลิมโดยภาพรวมทุกด้านและเป็นรายด้านทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า มีวคามแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษาไทยมุสลิมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักศึกษาไทยพุทธในทุกด้าน ส่วนการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาโดยรวม นักศึกษาไทยพุทธ และนักศึกษาไทยมุสลิมปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกกลุ่ม และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปฏิบัติตนอยู่ในระดับมากทุกด้าน และในแต่ละด้าน พบว่า นักศึกษาโดยรวม นักศึกษาไทยพุทธ และนักศึกษาไทยมุสลิมปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมากทุกเงื่อนไข/คุณลักษณะ ได้แก่ เงื่อนไขความรู้ เงื่อนไขคุณธรรม ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว โดยส่วนใหญ่ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียว เงื่อนไขคุณธรรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ทั้งในด้านร่างกายและด้านจิตใจ ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาไทยพุทธ กับนักศึกษาไทยมุสลิม โดยภาพรวมทุกด้าน พบว่า การปฏิบัติตนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษาไทยพุทธและนักศึกษาไทยมุสลิมปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพียงด้านเดียว คือ ด้านจิตใจ ส่วนอีก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมปฏิบัติตนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัญหาของนักศึกษาส่วนใหญ่ คือ ไม่ได้ออกกำลังกาย ยากจน มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย แนวทางแก้ไขให้มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมให้ความรู้และส่งเสริมการออกกำลังกาย การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต จัดหาทุนและจัดหางานพิเศษให้ทำen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherDhonburi Rajabhat University. Research and Development Instituteen_US
dc.subjectเศรษฐกิจพอเพียงen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตen_US
dc.subjectงานวิจัยen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.titleการศึกษาคุณภาพชีวิตและการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีen_US
dc.title.alternativeThe Study of Life Quality and Practitioner According to Sufficiency Economy Philosophy of Rajabhat Dhonburi Studentsen_US
dc.typeResearchen_US
Appears in Collections:Research Dhonburi Rajabhat University - งานวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title 1.pdfปก398.58 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ2.1 MBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ532.93 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ768.38 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 12.1 MBAdobe PDFView/Open
unit2.pdfบทที่ 212.66 MBAdobe PDFView/Open
unit3.pdfบทที่ 31.77 MBAdobe PDFView/Open
unit4.pdfบทที่ 422.08 MBAdobe PDFView/Open
unit5.pdfบทที่ 54.63 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม975.23 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก8.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.