Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/765
Title: ปัจจัยที่ส่งเสริมและเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: The supportive and obstructive factors towards community participation in the school's educational management : Acase study of an elementary school under Department of Education, Bangkok Metropolitan
Authors: สมพงษ์, โตโพธิ์ไทย
Topothai, Sompong
Keywords: การศึกษา,การมีส่วนร่วมของชุมชน,โรงเรียนประถมศึกษา,วิทยานิพธ์
Issue Date: 2007
Publisher: Dhonburi Rajabhat Univerity. Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ กรรมการมูลนิธิ กรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้บริหารโรงเรียน ครู และพระสงฆ์ รวมจำนวนทั้งสิ้น 13 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก คือ 1)ปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ได้แก่ 1.1)ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ : ชุมชนมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรม 1.2)ด้านการเมืองการปกครอง : นักการเมืองท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน 2)ปัจจัยเกี่ยวกับชุมชน ได้แก่ ความศรัทธา ความรู้สึกเป็นเจ้าของและความพร้อมของคนในชุมชน และ 3)ปัจจัยเกี่ยวกับโรงเรียน ได้แก่ 3.1)ด้านบุคลากรของโรงเรียน : ผู้บริหารมีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน ผู้บริหารเข้ากับกรรมการมูลนิธิ และกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนได้ดี ผู้บริหารให้เกียรติและกำลังใจแก่ผู้เข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน และรักษาความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องครูมีความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน ครูรัก ผูกพัน และรู้สึกว่าเป็นเจ้าของโรงเรียน ครูเอาใจใส่การเรียนการสอนดี 3.2)ปัจจัยด้านวิธีปฏิบัติงานของโรงเรียน : โรงเรียนเป็นผู้เข้าไปขอความร่วมมือกับชุมชน ให้ความเอื้อเฟื้อชุมชน สร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน 3.3)ปัจจัยด้านผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน:โรงเรียนมีความน่าเชื่อถือเรื่องการเงิน และโรงเรียนมีชื่อเสียงดี 3.4)ปัจจัยด้านอื่นๆ : ประวัติความเป็นมาที่ดีของโรงเรียน และการเป็นแหล่งให้ประโยชน์แก่ชุมชน สำหรับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลักเช่นเดียวกันคือ 1)ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมได้แก่ 1.1)ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ : คนในชุมชนมีอาชีพรับจ้างทำให้คนในชุมชนไม่มีเวลาว่าง 1.2)ปัจจัยด้านการเมืองการปกครอง : นักการเมืองท้องถิ่นไม่ให้ความสำคัญกับโรงเรียนมากนัก เนื่องจากเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 2)ปัจจัยเกี่ยวกับชุมชน : ชุมชนไม่ค่อยมีเวลาว่าง ชุมชนกับโรงเรียนขาดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน โดยเฉพาะ ความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับทางวัด 3)ปัจจัยเกี่ยวกับโรงเรียน ได้แก 3.1)ด้านบุคลากรของดรงเรียน : ผู้บริหารรุ่นปัจจุบันขาดความสัมพันือันดีกับชุมชน ไม่เป็นผู้นำครูเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชน และไม่ให้ความสำคัญกับผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน ครูไม่ค่อยไปร่วมงานของชุมชน ครูไม่มีความผูกพันกับโรงเรียนและชุมชน 3.2)ปัจจัยด้านวิธีปฏิบัติงานของโรงเรียน : ปัจจัยด้านวิธีปฏิบัติงานของโรงเรียน : โรงเรียนไม่ตอบแทนชุมชนในโอกาสที่เหมาะสม โรงเรียนไม่เปิดโอกาสให้ชุมเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มศักยภาพ 3.3)ปัจจัยด้านผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน : โรงเรียนไม่มีผลงานที่ประสบความสำเร็จ 3.4)ปัจจัยด้านอื่นๆ : ภาพลักษณ์ที่ไม่ดีและข่าวทางลบของโรงเรียน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/765
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title.pdfปก237.96 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ124.72 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdfบทคัดย่อ528.5 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgements.pdfกิตติกรรมประกาศ147.63 kBAdobe PDFView/Open
table of contents.pdfสารบัญ430.31 kBAdobe PDFView/Open
unit 1.pdfบทที่ 15.67 MBAdobe PDFView/Open
unit 2.pdfบทที่ 251.46 MBAdobe PDFView/Open
unit 3.pdfบทที่ 3550.99 kBAdobe PDFView/Open
unit 4.pdfบทที่ 46.66 MBAdobe PDFView/Open
unit 5.pdfบทที่ 520.71 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม1.15 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก121.59 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.