Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/911
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษากับการจัดสวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูล ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Relationship between School Administration and Welfare and Fringe Benefit in the Opinion of Teachers under Office of Secondary Education Area 6 Samut Prakarn Province
Authors: ขวัญใจ, เลิศฤทธิ์วิมานแมน
Lersrithwimanmaen, Kwanjai
Keywords: การบริหารการศึกษา,สวัสดิการ,ครู,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2017
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษากับการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ 2) เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษากับการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษากับการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าเอฟ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การบริหารงานบุคคล การบริหารวิชาการ การบริหารทั่วไป และการบริหารงบประมาณ สำหรับการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลที่เป็นเงิน และไม่เป็นเงิน 2) เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษากับการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ครูที่มีอายุ 41-50 ปี และมากว่า 50 ปีขึ้นไป มีความคิดเห็นด้าน การบริหารวิชาการ แตกต่างจากครูที่มีอายุไม่เกิน 40 ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนครูที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีความคิดเห็นด้านการบริหารงบประมาณ แตกต่างจากครูที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล พบว่าในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษากับการจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ตามความคิดเห็นของครู พบว่าในภาพรวมและรายด้าน มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่พบว่า ด้านการบริหารวิชาการมีความสัมพันธ์กันทางลบกับด้านสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลที่ไม่เป็นเงิน
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/911
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก113.62 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ35.94 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ80.88 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ42.83 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ57.7 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 1231.14 kBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 2197.95 kBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3123.4 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 4204.88 kBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 597.15 kBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม93.59 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก308.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.