Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/948
Title: ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มเกษตรกรในตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
Other Titles: The Local Wisdom of Agriculture Groups in Raikhing Sub-District, Sampran District, Nakornpatom Province
Authors: นิสารัตน์, วรางคณากิจกุล
Varangkanakijkul, Nisarat
Keywords: ภูมิปัญญาท้องถิ่น,กลุ่มเกษตร,การพัฒนาชุมชน,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2003
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นวิถีชีวิตของคนไทย มีการสืบสานถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ มีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาระหว่างชนบทและเมือง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เท่าเทียมกัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งควบคู่ไปกับการปรับตัวของท้องถิ่นตามกระแสภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีการพัฒนาอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพชุมชน โดยอาศัยองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมในท้องถิ่นของกลุ่มเกษตรกรมาผสมผสานกับแผนพัฒนาสมัยใหม่ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านการเกษตรพื้นฐานของกลุ่มเกษตรกรในตำบลไร่ขิง ที่ส่งผลให้ตำบลไร่ขิงเป็นชุมชนเข้มแข็ง ศึกษาการปรับตัวทางภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มเกษตรกร ศึกษาองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มเกษตรกรในตำบลไร่ขิงที่ส่งผลให้ตำบลไร่ขิงเป็นชุมชนเข้มแข็ง ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มเกษตรกร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ปลายเปิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์ความรู้ การปรับตัว ปัญญาและอุปสรรค ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มผู้นำท้องถิ่นจำนวน 34 คน วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ นำเสนอข้อมูลในรูปแบบพรรณนา สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มเกษตรกรในตำบลไร่ขิงประกอบอาชีพ การทำนาข้าว การทำสวนไม้ดอก การทำสวนไม้ผลและไม้ยืนต้น การปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร และการจักสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านการทำนาข้าว การทำสวนไม้ดอก การทำสวนไม้ผลและไม้ยืนต้น และการปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ พบว่า เกษตรกรสามารถปลูกพืชหมุนเวียนได้ตลอดปี ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านการเลี้ยงสัตว์ พบว่า ยังคงเหลือเกษตรกรเลี้ยงไก่หมู่ที่ 14 เพียงหมู่เดียว เลี้ยงไก่เนื้อและไก่พื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร พบว่า ผลิตภัณฑ์บางชนิดที่กลุ่มเกษตรกรได้รวมตัวกันผลิต คือ มะพร้าวเผาและขนมจาก นอกจากนั้นเกษตรกรผลิตในครัวเรือน และมีศูนย์จำหน่ายสินค้าชุมชนในหมู่ที่ 10 พื้นที่สีเขียวที่รัฐประกาศบังคับใช้ พบว่า ส่งผลดีให้กับพื้นที่เกษตรกรรมในตำบลไร่ขิงที่ยังคงเหลืออยู่ โดยไม่ถูกโรงงานอุตสาหกรรมบุกรุกพื้นที่ ด้านการปรับตัว พบว่า กลุ่มเกษตรกรมีการเปลี่ยนแปลงการผลิตเพื่อใช้ในชุมชนมาเป็นการผลิตเพื่อค้าขายกับบุคคลภายนอกชุมชน มีการพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น มีการใช้สารเคมีและสารกำจััดแมลงศัตรูพืช มีการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ และสามารถนำไปจำหน่ายได้ เช่น การจักสานตะกร้าจากก้านมะพร้าว การนำมะพร้าวมาทำเป็นขนมจาก การนำฝรั่งมาทำเป็นฝรั่งดองและฝรั่งหยี รวมถึงแชมพูและครีมนวดผมสมุนไพรดอกอัญชัน ด้านองค์ความรู้ พบว่า กลุ่มเกษตรกรในตำบลไร่ขิง สืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ มีการคิดค้นสูตรยากำจัดแมลงจากลูกขี้กา สะเดา ว่านหางไหล และยาสมุนไพรชนิดต่างๆ การปรับตัวที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนเข้มแข็ง พบว่า กลุ่มเกษตรกรมีภูมิปัญญาและองค์ความรู้ในการประดิษฐ์ มีการพัฒนาปรับตัวในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ตลอดทั้งการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยในการผลิตเพื่อนำไปจำหน่ายได้ ปัญหาและอุปสรรค พบว่า ผลิตผลบางส่วนยังไม่ได้มาตรฐาน ศัตรูพืชนับวันจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านสารเคมี ขาดพันธุ์ปลาที่ดีมาเลี้ยงในท้องร่อง และขาดความรู้ในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ข้อเสนอแนะของการศึกษา เกษตรกรขาดความรู้เกี่ยวกับสารตกค้างในผลิตผลการเกษตร รัฐควรจัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้เกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ รัฐควรส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การปรับตัวและองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/948
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก534.08 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ543.89 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ271.77 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ615.33 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ1.09 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 12.62 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 211.48 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 3858.99 kBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 41.84 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 51.78 MBAdobe PDFView/Open
Unit 6.pdfบทที่ 63.62 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.24 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก4.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.