Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/950
Title: กรรม ๑๒ และการให้ผล
Other Titles: The Twelve Classes of Karma and Their Consequences
Authors: อัมพร, หุตะสิทธิ์
Hutasit, Amporn
Keywords: กรรม,พุทธศาสนา,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2003
Publisher: Dhonburi Rajabhat University Office of Academic Resources And Information Technology
Abstract: งานวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาทรรศนะเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท และการให้ผลของกรรม โดยยึดกรรม ๑๒ และการให้ผล เป็นหลัก โดยการศึกษารวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎกและวรรณกรรมพุทธศาสนายุคปัจจุบันบางส่วน ทั้งนี้เพื่อนำเสนอทฤษฎีอันเป็นการยืนยันว่าทรรศนะเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทที่แท้จริงว่าอย่างไรและนำเสนอการวิเคราะห์จากเรื่องราวในอรรถกถา เพื่อให้เห็นถึงผลกรรมที่เกิดขึ้นกับบุคคลโดยมีปัจจัยต่าง ๆ เป็นตัวกำหนด จากการวิเคราะห์สามารถประมวลสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ในคัมภีร์พระสุตันตปิฎก อธิบายเรื่องกรรมและการให้ผลว่า เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กัน กรรม หมายถึงการกระทำที่มีเจตนาเป็นองค์ประกอบ เกิดขึ้นทางกาย วาจา และใจ อาจเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วระดับต่าง ๆ หรือกลาง ๆ ผลของกรรมนั้นก็จะดี ชั่ว หรือกลาง ๆ เช่นเดียวกัน นี้เป็นกฎแห่งเหตุและผล กฎของการกระทำและการโต้กลับ 2. แนวคิดเรื่องกรรมและการให้ผล ตามทรรศนะของพระสุตตันตปิฎก เชื่อว่ากรรมกับการให้ผลเป็นกฎธรรมชาติที่ไม่มีตัวตน ดำเนินไปตามเหตุปัจจัย มีความอิสระอยู่นอกเหนืออำนาจภายนอก ดังนั้น สภาพที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็คือผลจากการกระทำอันมีเจตนาของเราในอดีต และสภาพในอนาคตของเรา ก็จะเป็นผลมาจากการกระทำอันมีเจตนาในปัจจุบันของเรา แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้กฎแห่งกรรม แต่ละบุคคลยังคงมีเจตจำนงอิสระในการเลือกกระทำ เราจึงไม่เป็นแต่เพียงผู้รับผลของการกระทำในอดีตของเราเท่านั้น 3. แนวความคิดในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก กรรมหรือการกระทำนั้น ไม่จำเป็นต้องได้รับผลในระดับเดียวกัน ผลของกรรมอาจถูกทำให้แรงขึ้นหรืออ่อนลง โดยมีปัจจัยอื่นเป็นองค์ประกอบ กรรมอาจให้ผลทันทีที่ทำกรรมนั้น หรืออาจให้ผลในภายหลัง 4. แนวความคิดในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก กรรม คือ การกระทำหรือการประพฤติตนตามหลักของศาสนา กรรมที่สูงสุดเป็นไปเพื่อทำลายกิเลส เพื่อทำให้ถึงเป้าหมายที่สูงสุดของศาสนา ส่วนกรรมดีระดับทั่วไป เป็นไปเพื่อการพัฒนาและสร้างสรรค์ประโยชน์ตนและคนอื่น ผลของกรรมดีทำให้เกิดความสุขทั้งในโลกหน้า และในที่สุดอาจจะนำไปสู่เป้าหมายที่สูงสุดได้ กรรมชั่วนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อการทำลายประโยชน์ตนและคนอื่น ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ต่างก็เป็นปัจจัยทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสารเพื่อชดใช้กรรมของตนต่อไป 5. ตามทรรศนะของพระพุทธศาสนาแล้ว กรรมและการให้ผล เป็นสิ่งที่ช่วยให้บุคคลมองชีวิตในสายยาว ไม่มองในสายสั้น เพียงเพื่อความสุขความสมปรารถนาเฉพาะในปัจจุบัน โดยไม่คำนึงถึงทุกข์โทษอันจะมีมาในชาติหน้า ยิ่งกว่านั้น หลักกรรมและการให้ผลยังช่วยให้บุคคลอดทนและสามารถทำใจให้สงบอยู่ได้แม้ในยามทุกข์ ดำเนินชีวิตด้วยสติปัญญาความเข้าใจในสภาพชีวิตเช่นนี้ ย่อมช่วยให้สงบสุขปราศจากการเบียดเบียนกัน 6. ผู้จัดได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ประเภทของกรรม ๑๒ และการให้ผล ที่มีปรากฏอยู่ในพระอรรถกถาธรรมบท (พระธัมมปทัฏฐกถาแปล) ผลการวิเคราะห์ กรรม ๑๒ และการให้ผล จากเรื่องที่ปรากฏในพระอรรถกถาธรรมบท (พระธัมมปทัฏฐกถาแปล) ปรากฏผลดังนี้ ก. หมวด 1 : กรรมให้ผลตามคราว 1) ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม คือ กรรมที่ผลให้ปัจจุบัน หรือกรรมที่ให้ผลในภพนี้ - ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม มีปรากฏอยู่ในพระอรรถกถาธรรมบท จากจำนวน 57 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 20.93 นับเป็นกรรม ๑๒ ข้อที่ปรากฏมากที่สุด 2. อุปปัชชเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลต่อเมื่อเกิดภพหน้า หรือกรรมที่ให้ผลในชาติต่อไป - อุปปัชชเวทนียกรรม มีปรากฏอยู่ในพระอรรถกถาธรรมบท จากจำนวน 57 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 18.60 นับเป็นกรรม ๑๒ ข้อที่มีปรากฏมากเป็นอันดับ 2 3. อปราปรเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในภพสืบต่อไป - อปราปรเวทนียกรรม มีปรากฏอยู่ในพระอรรถกถธรรมบท จากจำนวน 57 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 12.40 นับเป็นกรรม ๑๒ ข้อที่มีปรากฏมากเป็นอันดับ 3 4. อโหสิกรรม คือ กรรมเลิกให้ผลแล้ว - อโหสิกรรม มีปรากฏอยู่ในพระอรรถกถาธรรมบท จากจำนวน 57 เรื่องคิดเป็นร้อยละ 8.53 ข. หมวด 2 : กรรมให้ผลตามหน้าที่ 5) ชนกกรรม คือ กรรมแต่งให้เกิด - ชนกกรรม มีปรากฏอยู่ในพระอรรถกถาธรรมบท จากจำนวน 57 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 9.30 6) อุปัตถัมภกกรรม คือ กรรมสนับสนุน - อุปัตถัมภกกรรม มีปรากฏอยู่ในพระอรรถกถาธรรมบท จากจำนวน 57 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 6.20 7) อุปปีฬกกรรม คือ กรรมบีบคั้น - อุปปีฬกกรรม มีปรากฏอยู่ในพระอรรถกถาธรรมบท จำนวน 57 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 4.65 8) อุปฆาตกรรม คือ กรรมตัดรอน - อุปฆาตกรรม มีปรากฏอยู่ในพระอรรถกถาธรรมบท จากจำนวน 57 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 0.78 นับเป็นกรรม ๑๒ ข้อที่มีปรากฏน้อยที่สุด ค. หมวด 3 : กรรมให้ผลตามแรงหนักเบา 9) ครุกรรม คือ กรรมหนัก - ครุกรรม มีปรากฏอยู่ในพระอรรถกถาธรรมบท จากจำนวน 57 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 4.65 10) อาจิณณกรรม คือ กรรมที่ทำจนเคยชิน - อาจิณณกรรม มีปรากฏอยู่ในพระอรรถกถาธรรมบท จากจำนวน 57 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 6.98 11) อาสันนกรรม คือ กรรมเมื่อจวนเจียน - อาสันนกรรม มีปรากฏอยู่ในพระอรรถกถาธรรมบท จากจำนวน 57 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 6.20 12) กตัตตากรรม คือ กรรมสักว่าทำ (พระพุทธโฆษะ 2534 อ้างถึงใน สุจิตรา รณรื่น 2540 : 39-41) - กตัตตากรรม มีปรากฏอยู่ในพระอรรถกถาธรรมบท จากจำนวน 57 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 0.78 นับเป็นกรรม ๑๒ ข้อที่มีปรากฏน้อยที่สุดเช่นเดียวกับอุปฆาตกรรม โดยสรุป การศึกษาให้รู้แจ้งในเรื่องของหลักกรรมหรือ กรรม ๑๒ และการให้ผล จึงเป็นเสมือนหนทางที่จะนำพาไปสู่การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ทำให้ผู้ศึกษาเรียนรู้มีความสุขสงบ มีโอกาสในการพัฒนาชีวิตให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทำให้ชีวิตสงบสุข และทำให้เห็นว่า การเกิดของเรามีความหมาย ไม่ใช่เกิดมาโดยบังเอิญ การเข้าใจเรื่องหลักกรรม หรือกรรม ๑๒ และการให้ผลนี้ จะทำให้บุคคลเข้าใจต่อความขึ้นลงของชีวิต จะช่วยคลี่คลายความสับสนของชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกชนควรรู้และทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง เพื่อชีวิตของตนจะได้ดีขึ้น
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/950
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก581.21 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ540.57 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.49 MBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิติกรรมประกาศ635.29 kBAdobe PDFView/Open
Table of content.pdfสารบัญ1.72 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่11.74 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่210.44 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่37.94 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่434.69 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่52.72 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.51 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.