Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/987
Title: การศึกษากระบวนการทำและการถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านด้านหัตถกรรมการทำถังไม้เพื่อวิถีชีวิตชุมชน เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: A Study of the Operational Process and Wisdom Transmission in Making Wooden Barrels for Community Life of Sampanthawong District,Bangkok
Authors: คมสัน, ไชยโชติช่วง
Chaichotechuang, Komsan
Keywords: ภูมิปัญญาชาวบ้าน,หัตถกรรม,ถังไม้,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2004
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: การวิจัยเรื่อง การศึกษากระบวนการทำและการถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านด้านหัตถกรรมการทำถังไม้เพื่อวิถีชีวิตชุมชน เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการทำและการถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านหัตถกรรมการทำถังไม้ การนำภูมิปัญญาชาวบ้านด้านหัตถกรรมการทำถังไม้มาใช้ในวิถีชีวิต ชุมชน และปัญหาและอุปสรรคในการนำภูมิปัญญาชาวบ้านด้านหัตถกรรมการทำถังไม้ มาใช้เพื่อวิถีชีวิตชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative research) กระบวนการวิจัยประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สืบทอดภูมิปัญญาชาวบ้านด้านหัตถกรรมการทำถังไม้ ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 13 คน และครัวเรือนที่ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านด้านหัตถกรรมการทำถังไม้ จำนวน 6 คน โดยมีแนวคำถามในการสัมภาษณ์แนวลึก (In-depth Interview) รวมถึงได้ใช้ข้อมูลจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมมาประกอบก่อนที่จะสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านหัตถกรรมการทำถังไม้เป็นองค์ความรู้ที่ชาวจีนเป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์ขึ้นโดยมีการสืบทอดมานานกว่าพันปี องค์ความรู้นี้เข้ามาพร้อมกับชาวจีนที่อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบนแผ่นดินไทย เมื่อประมาณ 80-90 ปีที่ผ่านมาหรือประมาณ พ.ศ. 2457 – 2467 ชาวจีนได้นำภูมิปัญญาการการทำถังไม้มาประยุกต์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น โดยเลือกใช้ไม้สักเป็นวัสดุหลัก เพราะไม้สักเป็นไม้พื้นบ้านของไทยและมีคุณสมบัติพิเศษ คือเนื้อไม้สักมีความละเอียด แข็งแรงทนทาน เมื่อถูกน้ำหรือแช่น้ำไม้สักจะไม่โป่งพอง ชาวจีนได้รวมกลุ่มญาติพี่น้องที่อพยพมาด้วยกันร่วมกันเปิดร้านทำและจำหน่ายถังไม้ของตนเองขึ้นแห่งแรกตั้งอยู่ย่านวัดสำเพ็ง หรือวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร ถนนทรงวาด เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งถังไม้ได้รับอุดหนุนจากลูกค้ามากเพราะถังไม้ที่ทำขึ้นในประเทศมีราคาต่ำกว่าถังไม้ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน มีรูปแบบให้เลือกซื้อหลากหลายและสามารถสั่งทำถังไม้ตามขนาดที่ต้องการทำให้ถังไม้มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นมาก เมื่อความต้องการใช้ถังไม้มีจำนวนสูงขึ้น ทำให้มีลูกจ้างชาวจีนที่เชียวชำนาญในการทำถังไม้จำนวนหนึ่งได้แยกตัวออกมาเปิดร้านทำและจำหน่ายถังไม้เป็นเพิ่มขึ้น ส่งผลร้านทำและจำหน่ายถังไม้เพิ่มขึ้นจากเริ่มแรกมีเพียงหนึ่งร้านกลายเป็น 6-8 ร้านในเวลาต่อมา การเพิ่มขึ้นของร้านทำถังไม้ย่านวัดสำเพ็งหรือวัดปทุมคงคาราชวรวิหารจึงเป็นแหล่งสร้างงานอีกแห่งหนึ่ง และมีการขยายกิจการออกไปสู่พื้นที่อื่นๆ ได้มีคนไทยเข้ามาสมัครเป็นลูกจ้างทำถังไม้ เจ้าของร้านชาวจีนจึงได้นำภูมิปัญญาการทำถังไม้มาถ่ายทอดให้กับลูกจ้างคนไทย นับเป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำถังไม้ระหว่างชาวจีนกับคนไทย เมื่อกิจการทำและจำหน่ายถังไม้มีความมั่นคง ลูกหลานได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียนมาปรับปรุง และพัฒนาขั้นตอนการทำถังไม้ รวมทั้งรูปแบบของถังไม้ให้เป็นตามความต้องการของลูกค้า มีการขยายหรือหากลุ่มของลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้น จนมีลูกค้าชาวไทยและชาวต่างประเทศหันเข้าอุดหนุนสินค้าถังไม้มากขึ้น จนได้รับการกล่าวขานว่าร้านทำและจำหน่ายถังไม้ย่านวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร ถนนทรงวาด เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานครเป็นแหล่งศูนย์รวมถังไม้ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศไทย ผลการวิจัยการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้านหัตถกรรมการทำถังไม้มาใช้ในวิถีชีวิตชุมชนพบว่า 1.ด้านสังคม พบว่าภูมิปัญญาการทำถังไม้ได้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่สภาพทางสังคม ความเชื่อมโยงระหว่างคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิทมิตรสหาย ที่เดินทางเข้ามาทำถังไม้ โดยมีการร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นชุมชน ร่วมแรงร่วมใจในการทำงาน พึ่งพาอาศัยกัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งจะเกิดความสัมพันธ์ระหว่างกัน นำไปสู่การทำกิจกรรมร่วมกัน 2. ด้านเศรษฐกิจ พบว่า มีการแข่งขันขั้นตอนการทำถังไม้มีความละเอียดอ่อนและพิถีพิถัน แต่ละใบที่ออกมาต้องใช้เวลานานหลายวัน รวมทั้งต้นทุนในการทำถังไม้มีปรับตัวสูงขึ้น เช่นราคาไม้สักที่สูงขึ้นทุกปี ค่าเช่าสถานที่ทำถังไม้และสถานที่จำหน่ายถังไม้ ค่าแรงงาน ค่าเครื่องมือ รวมทั้งการซื้อเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ ขณะที่ราคาของถังไม้ไม่สามารถการปรับขึ้นได้ เนื่องจากมีการแข่งขันกับจากวัสดุสังเคราะห์ที่มีราคาแตกต่างกันมากกล่าวคือวัสดุสังเคราะห์มีราคาถูกกว่าถังไม้มาก 3. ด้านเทคโนโลยี พบว่า ขั้นตอนการทำถังไม้ในอดีตกับปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนแปลงเฉพาะเครื่องมือในการทำถังไม้เท่านั้นเพื่อช่วยย่นระยะเวลาในการทำถังไม้เท่านั้น ส่วนขั้นตอนการทำถังไม้ยังคงต้องแรงงานคนเป็นสำคัญเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกไม้ การรีดไม้ การไสไม้ ตรวจสอบ ซึ่งต้องใช้ความชำนาญประสบการณ์ของคนเป็นสำคัญและเป็นพิเศษ 4. ด้านการตลาด พบว่า ถังไม้ได้รับการอุดหนุนจากชุมชนดั้งเดิมคือชุมชนชาวจีนเนื่องจากชาวจีนนิยมใช้ถังไม้ในวิถีชีวิตประจำวัน รวมทั้งมีการนำถังไม้เป็นอุปกรณ์ทำมาหากิน เมื่อภาครัฐและเอกชนนำถังไม้เป็นอุปกรณ์ตวงวัดพืชผล ทำให้ถังไม้เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น และการหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันต้องรักษากลุ่มลูกค้าประจำ รวมทั้งต้องประสานงานกับหน่วยงานราชการและเอกชน อาทิ สำนักเขตสัมพันธ์วงศ์ที่นำถังไม้ไปออกแสดงงานต่างๆ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รู้จักถังไม้ และทราบถึงบริเวณที่มีการทำและจำหน่ายถังไม้ 5. การปรับตัวในการแข่งขัน พบว่า ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทำถังไม้ได้ต้องปรับรูปแบบของถังไม้ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน คือนำถังไม้มาใช้เป็นอุปกรณ์ตกแต่งหรือประดับบ้านเรือนอาทิ ถังแช่ไวน์ กระถางต้นไม้ ถังใส่อาหาร แม้แต่อ่างอาบน้ำ โดยลูกค้าสามารถกำหนดขนาดให้เป็นไปความตามต้องการได้ รวมทั้งอาศัยหลักการธุรกิจที่ว่า การจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพและการบริการหลังการขายให้ลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจในสินค้าและบริการ ซึ่งจะทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการ และพูดถึงในแง่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/987
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก548.33 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ542.85 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ1.53 MBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ584.08 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ603.21 kBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.66 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 27.13 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 31.41 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 44.98 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 53 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม846.29 kBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.