Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/988
Title: การเสริมสร้างความรู้ การมีส่วนร่วม และการพัฒนารูปแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาชน : กรณีศึกษา บ้านระกาศ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Enhancement of Knowledge, Participation and the Development of Environmental Management Model of the People : A Case Study of Rakart Village No.4,Baanrakart sub-District,Bangbo District,Samutprakarn Province.
Authors: พระมหามงคล, หนองแพ
Nongphae, Phra Maha mongkol
Keywords: การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน,การมีส่วนร่วม,การพัฒนารูปแบบ,สมุทรปราการ,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2005
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ การมีส่วนร่วม และการพัฒนารูปแบบในการจัดการสิ่งแวดแล้อมของประชาชนบ้านระกาศ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และ (2) ประเมินประสิทฺผลของยุทศาสตร์การพัฒนาที่นำมาใช้ กระบวนการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ปัญหาและความต้องการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยให้กลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาจำนวน 47 คน ทำการวิเคราะห์ร่วมกับผู้วิจัยและกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้วิจัยทำการประเมินประสิทธิภาพผลของยุทธศาสตร์การพัฒนา หลังจากนำไปปฏิบัติได้ 8 เดือน โดยเปรียบเทียบข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการวิจัยและพัฒนา ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกต ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำข้อมูลมาจัดระบบและจำแนกหมวดหมู่ ทำการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าแล้วสังเคราะห์เชื่อมโยงกันโดยระบบเหตุผลและตามลำดับเวลาเพื่อตอบคำถามการวิจัย จากนั้นนำข้อสรุปที่ได้กลับไปให้ผู้ให้ข้อมูลตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุมชนบ้านระกาศ หมู่ที่ 4 มีปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่จะต้องแก้ไขเร่งด่วน 2 เรื่อง คือ ปัญหาขยะมูลฝอย และปัญหาน้ำในคูคลองเน่าเสีย กลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาจึงต้องแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมแต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีการ ขาดความร่วมมือและรูปแบบที่เหมาะสม (2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา คือ การอบรมความรู้ การศึกษาดูงาน การสาธิต การปฏิบัติกิจกรรม และการติดตามช่วยเหลือและเสริมแรงเป็นระยะๆ (3) ผลการประเมินประสิทธิผลของยุทธศาสตร์การพัฒนา พบว่า (3.1) กลุ่มเป้าหมายของการพัฒนามีความรู้ความเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น (3.2) กลุ่มเป้าหมายของการพัฒนามีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนมากขึ้น (3.3) รูปแบบของกิจกรรมการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ผู้วิจัยและกลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาร่วมกันกำหนดขึ้น 3 โครงการ คือ โครงการหน้าบ้านน่ามอง โครงการคัดแยกขยะแลกอาหารสำเร็จรูปและโครงการผลิตน้ำชีวภาพช่วยให้สภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนบ้านระกาศ หมู่ที่ 4 มีความสะอาดเรียบร้อยและสวยงามมากขึ้นกว่าเดิม (3.4) เกิดผลลัพธ์ที่ดีในชุมชน ได้แก่ เกิดกองทุนจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนหนึ่งกองทุนประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักและตื่นตัวในการจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชนมากขึ้น และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านระกาศได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุนกลุ่มผลิตน้ำชีวภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนบ้านระกาศ หมู่ที่ 4
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/988
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก544.82 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ540.26 kBAdobe PDFView/Open
Abstra t.pdfบทคัดย่อ822.95 kBAdobe PDFView/Open
acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ79.14 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.22 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 16.27 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 245.54 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 35.38 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 49.69 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 517.58 MBAdobe PDFView/Open
Unit 6.pdfบทที่ 65.77 MBAdobe PDFView/Open
bib.pdfบรรณานุกรม4.41 MBAdobe PDFView/Open
appendix.pdfภาคผนวก13.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.