Please use this identifier to cite or link to this item: http://hdl.handle.net/123456789/1006
Title: คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Life Quality of the Elderly People in the Elderly People Club, Bangkok Noi District, Bangkok
Authors: นันทิญา, อังกินันทน์
Angkinun, Nunthiya
Keywords: คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ,ชมรมผู้สูงอายุ,บางกอกน้อย,วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2003
Publisher: Dhonburi Rajabhat University. Office of Academic Resources And Information Technology.
Abstract: ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู้สังคมอุตสาหกรรม จึงส่งผลกระทบต่อโครงสร้างระบบครอบครัวเปลี่ยนจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว ทำให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งอยู่เพียงลำพัง ถ้าผู้สูงอายุปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงจะมีความรู้สึกว่าถูกทอดทิ้งผู้สูงอายุจำเป็นจะต้องปรับตัวเป็นชมรมขึ้น เป็นปัญหาที่จะต้องศึกษาคุรภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมแผนพัฒนาสังคมเน้นที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่ดีมีสุข การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในด้านสังคม เศรษฐกิจ ศาสนา สาธารณสุข และสันทนาการ ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ระหว่างเพศชายกับเพศหญิงในชมรมผู้สูงอายุในเขตบางกอกน้อย ทั้ง 5 ด้าน ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ ในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเขตบางกอกน้อย 6 ชมรม ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย จำนวน 242 คน วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ นำเสนอผลการศึกษาโดยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และหาค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์แบบเพียร์สัน t-test ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ด้านสังคม พบว่า คุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (x = 2.72) หมายถึงกิจกรรมหรือบริการที่ได้รับอยู่ในสภาพสมบูรณ์ 2. ด้านเศรษฐกิจ พบว่า คุรภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x = 2.30) หมายถึง กิจกรรมหรือบริการที่ได้รับอยู่ในสภาพพอเพียง 3. ด้านศาสนา พบว่า คุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (x = 2.54) หมายถึง กิจกรรมหรือบริการที่ได้รับอยู่ในสภาพสมบูรณ์ 4. ด้านสาธารณสุข พบว่า คุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (x = 2.49) หมายถึงกิจกรรมหรือบริการที่ได้รับอยู่ในสภาพสมบูรณ์ 5. ด้านสันทนาการ พบว่า คุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (x = 2.58) หมายถึง กิจกรรมหรือบริการที่ได้รับอยู่ในสภาพสมบูรณ์ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป คือ ควรศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแต่ละชมรม ทั้งที่ขึ้นทะเบียนกับสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยและที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยเพื่อนำผลศึกษาที่ได้นำไปพัฒนาชมรมผู้สูงอายุให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพในการบริหารชมรม ควรทำการศึกษาถึงสภาพพื้นฐานของครอบครัวผู้สูงอายุที่มีความแตกต่างกัน แล้วนำมาศึกษาเปรียบเทียบว่า ผู้สูงอายุมีความแตกต่างกันในด้านคุณภาพชีวิตอย่างไรเพื่อนำไปพัฒนาให้เกิดความเหมาะสมกับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ควรทำการศึกษาถึงพฤติกรรมการปฏิบัติตนของครอบครัวผู้สูงอายุในด้านต่างๆ และมีการติดตามผลโดยอาจใช้ระยะเวลาในการศึกษาอาจเป็น 1 ปี หรือ 3 ปี แล้วทำการสรุปวิเคราะห์ถึงปัญหาที่ได้พร้อมกับนำไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขต่อไป
URI: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1006
Appears in Collections:Thesis Dhonburi Rajabhat University - วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Title 1.pdfปก517.77 kBAdobe PDFView/Open
Title 2.pdfหน้าอนุมัติ562.42 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ193.08 kBAdobe PDFView/Open
Acknowledgement.pdfกิตติกรรมประกาศ42.5 kBAdobe PDFView/Open
Table of contents.pdfสารบัญ1.05 MBAdobe PDFView/Open
Unit 1.pdfบทที่ 11.7 MBAdobe PDFView/Open
Unit 2.pdfบทที่ 28.65 MBAdobe PDFView/Open
Unit 3.pdfบทที่ 32.1 MBAdobe PDFView/Open
Unit 4.pdfบทที่ 412.74 MBAdobe PDFView/Open
Unit 5.pdfบทที่ 56.3 MBAdobe PDFView/Open
Bib.pdfบรรณานุกรม1.57 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.